Category: บทความทั้งหมด

AHF TALKS : อนาคต Sex Work  ในวันที่เรามองคน “ไม่” เท่ากัน
Post

AHF TALKS : อนาคต Sex Work  ในวันที่เรามองคน “ไม่” เท่ากัน

…เรากล้าที่จะมองคนทุกคน..เป็นคน “เท่ากัน”  รึเปล่า ?   เมื่อ Sex work คืองานอาชีพหนึ่ง ดังนั้น คนที่เป็น Sex worker ก็ควรจะได้รับสิทธิพื้นฐานเทียบเท่ากับคนที่ทำงานอาชีพอื่น ๆ หรือไม่ ? นี่คือคำถามที่อยู่ในใจคนที่ประกอบอาชีพนี้ ถ้าพูดกันตรง ๆ ก็คือ “อาชีพขายบริการทางเพศ” ที่ปัจจุบันต้องยอมรับว่ามีอยู่จริง และในบ้านเรายังถือว่าเป็นอาชีพที่ผิดกฎหมาย จะดีกว่าไหม ? ถ้าทำให้เป็นอาชีพที่ถูกกฎหมาย ในเมื่อเขาใช้ร่างกายของเขาในการประกอบอาชีพ และไม่ได้ละเมิดสิทธิผู้อื่น เมื่อต้นเดือนธันวาคม AHF Thailand มีโอกาสได้จัดเวทีเสวนาร่วมกับมูลนิธิเพื่อนพนักงานบริการ หรือ SWING ในหัวข้อ “เพียงแค่เราเห็นคนทุกคนเป็นคนเท่ากัน อนาคต Sex Worker ประเทศไทย” ประกอบกับวันที่ 17 ธันวาคมของทุกปี เป็นวันสากลเพื่อยุติความรุนแรงต่อพนักงานบริการ (International Day to End Violence Against Sex Workers) งานนี้จึงถูกจัดขึ้นเพื่อย้ำเตือนให้สังคมไทยรู้ว่ายังมีคนกลุ่มนี้อยู่ในสังคมของเรา เราเคยสงสัยไหมว่าพวกเขามีชีวิตความเป็นอยู่อย่างไร โดยเฉพาะในช่วงที่โควิดแพร่ระบาดอย่างหนักในช่วง 2 ปีที่ผ่านมา และเราจะทำอย่างไรเพื่อไม่ให้พวกเขาเป็นคนที่ถูกทิ้งไว้ข้างหลังอีกต่อไป..   ในเมื่ออาชีพงานบริการมีหลากหลายประเภท และหนึ่งในนั้นคือ “อาชีพขายบริการ” ถ้าพูดกันตรง ๆ มันก็คืออาชีพสุจริตอาชีพหนึ่ง แต่สังคมไทยเราเปิดใจยอมรับเรื่องนี้มากน้อยแค่ไหน เราทุกคนรับรู้ว่ามีอาชีพนี้อยู่ทั่วทุกหนแห่งบนโลกใบนี้ แต่ด้วยกำแพงมายาคติแห่งขนบธรรมเนียมและวัฒนธรรม ทำให้เราเลือกที่จะซุกเรื่องนี้ไว้ใต้พรมมาช้านาน ซึ่งถูกกฎหมายตีตราว่า การขายบริการทางเพศเป็นอาชีพที่ผิด แต่ทำไม ผู้ซื้อบริการกลับไม่มีความผิด ? นี่คือต้นเหตุที่ทำให้เกิดความไม่เท่าเทียมกันของสิทธิและเสรีภาพในการประกอบสัมมาอาชีพ นำมาสู่การที่เรามอง “คน” ไม่เท่ากัน “ในเส้นทาง 32 ปี ที่ต่อสู้เพื่อสิทธิของพี่น้อง sex worker จะเห็นความยากในทุกมิติ จนมาถึงจุดหนึ่งที่เราเสนอให้นำเรื่องนี้ขึ้นมาบนดิน ก็จะมีเสียงสะท้อนกลับมาหนาหูว่า ต้องการส่งเสริมให้เด็กและเยาวชนค้าประเวณีหรือ ? อยากให้ประเทศเป็นที่น่าอับอายมากกว่านี้หรือ ? ซึ่งในความเป็นจริงก็มีพี่น้องในผับบาร์ที่ยืนขายบริการอยู่ มีคนได้ประโยชน์ แต่ไม่สามารถพูดได้เลย เชื่อว่าท่ามกลางความยากนี้ มันต้องมีหนทางให้เราไปต่อ” คุณสุรางค์ จันทร์แย้ม ผู้อำนวยการมูลนิธิเพื่อนพนักงานบริการ กล่าวในช่วงหนึ่งของการเสวนา แม้รู้ว่าหนทางนี้ยากลำบากแค่ไหน แต่เราเห็นถึงความมุ่งมั่นตั้งใจขององค์กรที่ทำงานด้านนี้แล้ว ก็ไม่มีสิ่งใดที่น่ากังวลอีกต่อไป ขอเพียงแค่เราจับมือกันเดินหน้าทำงานต่อ จนกว่าจะถึงวันที่ “ปลดล็อก” ให้กับพี่น้องพนักงานบริการได้ แต่กลับเหมือนเคราะห์ซ้ำกรรมซัด เมื่อโควิด-19 ระบาดหนักไปทั่วโลกรวมถึงประเทศไทย   พิษโควิด ทุบเศรษฐกิจพัง Sex worker ตกงาน ต้องยอมรับว่าในช่วงที่โควิดกระหน่ำเข้ามาในบ้านเรา ตั้งแต่ต้นปี 2563 ทุกภาคส่วนต่างได้รับผลกระทบ เริ่มตั้งแต่เศรษฐกิจของประเทศ ธุรกิจ อุตสาหกรรม ไปจนถึงชาวบ้านตาดำ ๆ ต่างได้รับผลกระทบที่แตกต่างกันออกไป ซึ่งแน่นอนว่ามีหลายคนที่รอด และมีอีกหลายคนที่ตกงานแบบไม่ทันตั้งตัว รศ.ดร.ชลิดาภรณ์ ส่งสัมพันธ์ รองคณบดีคณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และประธานมูลนิธิเพื่อนพนักงานบริการ กล่าวถึงเหตุการณ์ในตอนนั้นว่า “ทันทีที่ได้รู้ว่าพี่น้อง sex worker ได้รับผลกระทบจากโควิด และกลายเป็นคนตกงานทันทีหลังจากสถานบริการปิดตัวลง ไม่มีแม้แต่เงินจะซื้อข้าวกิน จึงได้จัดตั้ง ‘กองทุนเพื่อพนักงานบริการ COVID-19’ ขึ้นมาในนามของ SWING เพื่อระดมทุนช่วยเหลือพี่น้อง sex worker ผ่านทางโซเชียลมีเดีย ปรากฎว่ามีผู้บริจาคเข้ามารวดเร็วมากในระยะเวลาอันสั้น ทำให้เราจึงรู้ว่าสังคมไทยมีคนใจเปิดเยอะมาก พร้อมให้การช่วยเหลือโดยไม่มีการตีตราหรือประณามใด ๆ ต้องบอกว่าเครือข่ายที่คนไทยช่วยเหลือกันเองนี้ ทำให้พี่น้องเรารอดจากวิกฤติครั้งนั้นมาได้”   คนขายผิด แต่ทำไมคนซื้อไม่ผิด ? พระราชบัญญัติป้องกันและปราบปรามการค้าประเวณี พ.ศ. 2539 ให้ความหมายของ “การค้าประเวณี” ไว้ว่า “การยอมรับการกระทำชำเรา หรือการยอมรับการกระทำอื่นใด หรือการกระทำอื่นใดเพื่อสำเร็จความใคร่ในทางกามารมณ์ของผู้อื่น อันเป็นการสำส่อนเพื่อสินจ้างหรือประโยชน์อื่นใด ทั้งนี้ไม่ว่าผู้ยอมรับการกระทำ และผู้กระทำจะเป็นบุคคลเพศเดียวกันหรือคนละเพศ” ซึ่งถ้าอ่านทั้งฉบับแล้วสามารถเข้าใจได้ว่า ผู้ที่ขายบริการจะมีความผิด แต่ผู้ซื้อบริการจะไม่มีความผิดที่ชัดเจน ซึ่งเราจะไม่ค่อยเห็นข่าว คนที่ไปซื้อบริการทางเพศถูกจับ “เราคิดว่า พ.ร.บ. ป้องกันและปราบปรามการค้าประเวณี พ.ศ. 2539 เป็นกฎหมายที่เอื้อประโยชน์ให้กับคนกลุ่มหนึ่ง และสังคมส่วนหนึ่งก็ยอมรับที่มันเป็นแบบนี้ พี่น้องที่เข้ามาทำงานนี้เพราะว่าเขาต้องการมีงานทำ ต้องการมีรายได้เพื่อเลี้ยงดูตัวเองและครอบครัว เขาใช้เนื้อตัวร่างกายของเขา และพยายามรับผิดชอบตัวเองไม่ให้เป็นภาระของสังคม แต่ทำไมสิ่งที่ sex worker ทำ ถึงเป็นสิ่งที่ผิด และก็มีคนมาเก็บเบี้ยบ้ายรายทางกับเขา ส่วนใหญ่พี่น้อง sex worker คิดที่จะทำอาชีพนี้ชั่วคราวเพื่อเก็บเงิน แต่เท่ากับว่ากฎหมายนี้ยืดอายุให้เขาถูกกฎขี่ และต้องอยู่ในอาชีพนี้นานขึ้น”...

AHF TALKS : อนาคตเยาวชนไทยกับเป้าหมายการยุติเอดส์
Post

AHF TALKS : อนาคตเยาวชนไทยกับเป้าหมายการยุติเอดส์

หากเราลองมองลึกลงไปในระดับชุมชนและสังคม ไม่อาจปฏิเสธได้ว่าเยาวชนไทยช่วงอายุ 15-29 ปี ยังคงเป็นกลุ่มที่มีความเสี่ยงต่อการติดเชื้อเอชไอวี และโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์สูง สาเหตุและสิ่งที่น่าเป็นห่วงคือ พฤติกรรมทางเพศของเยาวชนที่นิยมมีเพศสัมพันธ์แบบฉาบฉวยและไม่ปลอดภัย จากข้อมูลยังพบอีกว่า มีอัตราการใช้ถุงยางอนามัยต่ำกว่าเป้าหมายในกลุ่มนักเรียน และนี่คือโจทย์ใหญ่ที่ไม่ใช่แค่ประเทศไทย แต่ทั่วทั้งโลกยังคงต้องทำงานหนักเพื่อยับยั้งการติดเชื้อเอชไอวีในกลุ่มเยาวชน ซึ่งถือเป็นเรื่องท้าทายมากเพราะเราเหลือเวลาอีกไม่ถึง 8 ปี ในการทำงานเพื่อยุติเอดส์ภายในปี 2030 ตามที่ประชาคมโลกร่วมกันตั้งเป้าหมายไว้ เมื่อพูดถึงเรื่องของเยาวชน หนึ่งในองค์กรพันธมิตรของ AHF Thailand ที่ทำงานเพื่อเด็กและเยาวชนมาอย่างเข้มแข็งและต่อเนื่อง นั่นก็คือ “ลิตเติ้ลเบิร์ด” ครั้งนี้เรามีโอกาสได้พูดคุยกับ คุณนิว พิมพ์ผกา พยัคใหม่ ผู้ประสานงานมูลนิธิเครือข่ายเยาวชน Little Birds และผู้ประสานงานโครงการ Girls Act ของ AHF ที่ทำงานด้านการพัฒนาคุณภาพชีวิตของเยาวชนมาอย่างต่อเนื่องเป็นปีที่ 7 แล้ว เธอยอมรับว่าปัจจุบันยังพบปัญหาของเยาวชนกับเอชไอวีหลายข้อที่องค์กรยังต้องทำงานหนัก แต่นั่นก็ไม่ใช่ข้ออ้างของคนทำงาน ลิ้ตเติ้ลเบิร์ดยังคงเดินหน้าเพื่อค้นหาแนวทางการแก้ปัญหาให้ได้ผลลัพธ์ที่ดีที่สุด   “ปัญหาส่วนใหญ่ที่ลิ้ตเติ้ลเบิร์ดเจอในเยาวชนโดยเฉพาะเพศหญิง คือ เคสที่อยู่ร่วมกับเชื้อเอชไอวีมาตั้งแต่เด็กและเติบโตมาจากสถานสงเคราะห์ เคสที่ตั้งครรภ์โดยไม่พร้อม และเคสที่ติดยาเสพติด หลายเคสที่ครบกำหนดออกจากมูลนิธิหรือสถานสงเคราะห์ไปแล้วมักจะเจอปัญหาการตั้งครรภ์โดยไม่พร้อม เพราะสถานที่แรกที่น้อง ๆ เยาวชนที่เป็นผู้หญิงเหล่านี้จะไปอยู่อาศัยคือบ้านแฟน และกลายเป็นปัญหาแม่เลี้ยงเดี่ยวตามมา” ปัญหาเหล่านี้คือเรื่องจริงที่ยังมีอยู่ในสังคมไทย ซึ่งคุณนิวบอกว่าช่วยกันคิดและหาวิธีแก้ปัญหานี้อยู่ตลอด แต่ก็ยังไม่เจอวิธีที่ทำให้ปัญหานี้หมดไป แม้จะมีท้อบ้าง แต่เมื่อเข้ามาทำงานตรงนี้แล้วก็ตั้งใจว่าจะทำเต็มที่ เพราะอยากเห็นเยาวชนในชุมชนมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น “ในชุมชนที่นิวอาศัยอยู่ จะมีทั้งเพื่อนและคนรู้จักที่อยู่ร่วมกับเชื้อเอชไอวี ส่วนใหญ่จะเป็นพวกที่ไม่กล้าไปหน่วยบริการชุมชน เพราะกลัวว่าจะเจอคนรู้จัก หรืออาจรู้สึกไม่ปลอดภัยเพราะกลัวคนอื่นจะรู้ว่าตัวเองติดเชื้อ อีกกลุ่มหนึ่งจะเป็น MSM ที่ใช้สารเสพติดชนิดฉีด นิวก็จะเข้าไปคุยกับเค้าให้คำแนะนำและข้อมูลที่ถูกต้องในการดูแลตัวเอง โดยสัญญาว่าจะเก็บเป็นความลับ จนเค้าไว้ใจเราก็พาไปตรวจและเข้าสู่กระบวนการรักษา” เมื่อการทำงานมีทั้งเรื่องที่ง่ายและเรื่องยาก แต่คุณนิวก็ไม่ได้ยอมแพ้ต่ออุปสรรคนั้น ตรงกันข้าม ยิ่งเป็นแรงผลักดันให้เธอทำงานมากขึ้น เพื่อให้เยาวชนเหล่านี้ได้ก้าวข้ามฝันร้าย หรือตราบาปในชีวิตของพวกเขา สมดังที่เธอตั้งใจไว้ตั้งแต่วันแรกที่เข้ามาทำงานที่นี่ ปัญหาเยาวชนหยุดกินยาต้าน “อีกหนึ่งปัญหาสำคัญที่เจอคือ น้องที่อยู่ร่วมกับเชื้อเอชไอวีหลายคนเมื่อออกจากมูลนิธิไปแล้ว หยุดยากันเยอะมาก จากสถานะสีเขียวกลายไปเป็นสีเหลือง และจากสีเหลืองกลายเป็นสีแดง เรื่องนี้น่าเป็นห่วงมาก เราจึงออกไปหาน้อง ๆ เหล่านี้ และได้คำตอบว่า ส่วนหนึ่งมีปัญหาเศรษฐกิจ ซึ่งเขายอมทำงานเพื่อให้มีรายได้เป็นรายวัน แลกกับการไปหาหมอเพราะคิดว่าเสียเวลาทั้งวัน แถมไม่ได้เงิน” “อีกสาเหตุหนึ่งเพราะสภาพแวดล้อม เช่น เพื่อนร่วมงานในสถานบันเทิงที่มีค่านิยมว่ากินยาต้านแล้วรู้สึกว่าป่วย สุขภาพแย่ลงกว่าตอนไม่กิน รวมไปถึงการมีเพศสัมพันธ์กับแขกแบบไม่ป้องกัน เพราะเพื่อนบอกต่อ ๆ กันมาว่า เคยมีอะไรกับแขกคนนี้มาแล้ว แต่ไม่เห็นติดเชื้อหรือมีอาการป่วย” จะเห็นได้ว่าทัศนคติของเยาวชนเหล่านี้ค่อนข้างน่าเป็นห่วงมาก หากปล่อยให้เด็กมีค่านิยมผิด ๆ ต่อไป การยุติเอดส์ภายในปี 2030 ก็คงเป็นแค่เป้าหมายลอย ๆ ซึ่งในเคสลักษณะนี้ ทีมลิ้ตเติ้ลเบิร์ดต้องใช้เวลาในการลงพื้นที่เพื่อพูดคุยและติดตามน้อง ๆ กลุ่มนี้ถึงหน้างาน (สถานบันเทิง สถานที่ทำงาน) เป็นระยะเวลานานและใช้งบประมาณไปมากพอสมควร จนได้มาซึ่งความไว้ใจ ได้คำตอบ และคำมั่นสัญญาว่าจะมาตรวจสุขภาพปีละครั้ง นั่นคือความสำเร็จสเต็ปแรกที่ลิ้ตเติ้ลเบิร์ดทำได้ เคสที่ทำให้ยังคงต่อสู้เพื่อชุมชน “ตั้งแต่เริ่มเข้ามาทำงาน นิวตั้งใจว่าจะทำงานเพื่อเยาวชนไปจนกว่าโรคเอดส์จะหมดไป ถ้าถามถึงเคสที่เป็นแรงบันดาลใจ ขอเลือกเคสที่ยากที่สุดเท่าที่เคยเจอมา คือ น้องผู้หญิงที่อยู่ร่วมกับเชื้อเอชไอวีมาตั้งแต่เด็ก จนปัจจุบันอายุ 19 ปี แล้ว คบกับแฟนที่มีอารมณ์รุนแรง ทำให้น้องกลายเป็นผู้ถูกกระทำมาตลอด ตกอยู่ในสภาพปางตายหลายครั้งแต่เลิกกับแฟนไม่ได้ นิวเข้าไปช่วยน้อง ไปเอาน้องออกมาจากตรงนั้น แต่น้องก็กลับไปคบกันเหมือนเดิม เราให้คำปรึกษาน้องทุกวัน ๆ จนรอบที่ 4 ตัดสินใจว่าจะไม่ช่วยแล้ว สุดท้ายน้องตัดสินใจเดินออกมาเอง มาขอบคุณเราที่ทำให้รู้ว่าเขาเป็นอะไรบ้าง และสัญญาว่าจะไม่กลับไปอีก นิวได้ยินแบบนั้นก็ใจฟูอย่างบอกไม่ถูก มันทำให้เราคิดได้ว่าที่ทำมาไม่เสียเปล่า แถมเป็นแรงผลักดันให้เราคิดจะช่วยเหลือคนอื่นต่อไป” อนาคตการทำงานด้านเอดส์กับกลุ่มวัยรุ่นและเยาวชน “จากสถานการณ์ที่พบในปัจจุบันคิดว่าการทำงานด้านเอดส์กับกลุ่มวัยรุ่นและเยาวชนยังเป็นงานที่ยากกว่ากลุ่มอื่น ๆ เพราะด้วยประสบการณ์ชีวิตน้อยกว่า วุฒิภาวะและข้อมูลความรู้ประกอบการตัดสินใจที่น้อยกว่ากลุ่มอื่น ๆ ยังคงเป็นอุปสรรคและปัญหาสำคัญที่ยังไม่สามารถทลายลงได้ แต่ลิตเติ้ลเบิร์ดจะยังคงทำงานต่อไป และจะไม่ยอมพ่ายแพ้ให้กับโรคเอดส์ ตราบใดที่ยังมีเป้าหมาย ยังมีทุนจากผู้สนับสนุนในระดับประเทศและระดับโลก” กองทุนโลกกับภารกิจด้านเอชไอวี “ในฐานะที่ลิตเติ้ลเบิร์ดทำงานด้านเอชไอวีกับเยาวชน อยากให้กองทุนโลก (Global Fund) สนับสนุนเงินทุนให้หลายประเทศทั่วโลกได้ทำงานเพื่อต่อสู้กับเอชไอวีและโรคเอดส์ต่อไป เพราะถ้าไม่มีกองทุนนี้ ก็จะไม่มีคนทำงานด้านนี้ และอาจทำให้ไม่สามารถขับเคลื่อนงานไปสู่เป้าหมายที่กำหนดไว้” คุณภาพยาดีขึ้น แต่ทำไมคนไม่กิน ? แม้ว่าปัจจุบันจะเข้าสู่โค้งสุดท้ายของเป้าหมายการยุติเอดส์ในปี 2030 แล้ว ซึ่งเหลือเวลาอีกไม่ถึง 8 ปี แต่คุณนิวเชื่อว่าเมื่อถึงเวลานั้น ความสำเร็จจะอยู่ที่ประมาณ 90% จะไปถึงจุดที่ U=U  (Undetectable = Untransmittable) ซึ่งหมายถึงไม่พบเชื้อเท่ากับไม่แพร่เชื้อ “ตอนนี้ เรายังเจอปัญหาที่ว่า แม้ปัจจุบันมีการผลิตยาต้านไวรัสที่มีคุณภาพและประสิทธิภาพดีขึ้นกว่าในอดีต แต่ทำไมพบว่ามีจำนวนคนที่หยุดกินยาหรือไม่กินยังคงมีอัตราที่เพิ่มขึ้น โดยเฉพาะกลุ่มเยาวชนที่มีค่านิยมในการหยุดกินยา รวมไปถึงการมีเพศสัมพันธ์แบบฉาบฉวยและไม่ปลอดภัย จะมีการให้ความรู้อย่างไร การดูแลเยาวชนที่อยู่ร่วมกับเชื้ออย่างใกล้ชิด ไม่ให้เกิดปัญหาตั้งครรภ์โดยไม่พร้อมได้อย่างไร เรื่องเหล่านี้ไม่ใช่เรื่องใหม่ แต่ยังคงเป็นเรื่องที่ต้องนำไปศึกษาร่วมกันเพื่อค้นหาแนวทางแก้ปัญหาต่อไป” แม้ว่าลิตเติ้ลเบิร์ดจะเป็นองค์กรเล็ก ๆ...

AHF TALKS : We will fight till the end of HIV/AIDS
Post

AHF TALKS : We will fight till the end of HIV/AIDS

ปัจจุบัน ผู้ติดเชื้อเอชไอวีสามารถใช้ชีวิตได้เหมือนกับคนที่ไม่ติดเชื้อเอชไอวี หลายคนเป็นบุคคลากรที่มีความรู้ความสามารถขององค์กร หลายคนทำงานเพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตและทำประโยชน์ให้กับคนในสังคม เราต่างรับรู้ได้ถึงความเท่าเทียม เราต่างเรียนรู้ที่จะอยู่ร่วมกัน เกิดการยอมรับซึ่งกันและกัน แต่กว่าที่สังคมไทยจะมาถึงจุดนี้ไม่ง่ายเลย มีเรื่องราวมากมายในอดีต ที่ต้องอาศัยความเสียสละของคนรุ่นก่อน ตลอดจนการทำงานหนักในการผลักดันสิ่งต่าง ๆ  เพื่อวางรากฐานสิทธิการดูแลรักษาผู้ติดเชื้อเอชไอวีได้อย่างเป็นรูปธรรมมาจนถึงทุกวันนี้   AHF Thailand มีโอกาสได้พูดคุยกับ คุณอภิวัฒน์ กวางแก้ว ประธานเครือข่ายผู้ติดเชื้อเอชไอวี/เอดส์ ประเทศไทย หนึ่งในแกนนำยุคแรกที่ทำงานด้านเอชไอวี ซึ่งคุณอภิวัฒน์ได้ให้ฉายาตนเองแบบติดตลกว่า ตนเป็นมารร้ายในสายตาใครหลายคน ไม่มีใครอยากให้ไปเยี่ยมเยียนเท่าไหร่ เพราะเกรงว่าจะถูกตรวจสอบหรือติดตามงาน คุณอภิวัฒน์เล่าว่าในยุคแรก ๆ ที่เชื้อเอชไอวีเข้ามาในประเทศไทยนั้น ได้สร้างความสับสนให้กับคนไทยเป็นอย่างมาก “ในอดีตเราอยู่กับความไม่เข้าใจเรื่องเอดส์พอสมควร ตั้งแต่เรื่องการเข้าถึงการรักษา ซึ่งเป็นเรื่องใหญ่สำหรับผู้ที่อยู่ร่วมกับเชื้อ หลายคนสูญเสียโอกาสในการรับการรักษา เพราะยามีราคาแพงมาก และยังไม่มีแผนการรักษาหรือระบบการดูแลอย่างชัดเจน จะเห็นว่าผู้ติดเชื้อจะถูกนำไปทิ้งไว้ในสถานที่ต่าง ๆ เช่น สถานสงเคราะห์และวัด นำมาซึ่งความหวาดกลัว และการรังเกียจกีดกัน” การสื่อสารผิดวิธีทำให้เกิดการตีตรา “เมื่อ 20-30 ปีที่แล้ว มีการสื่อสารที่ทำให้คนหวาดกลัวโรคเอดส์เพื่อป้องกันการแพร่ระบาด ทำให้มีผลกระทบระยะยาวตามมา ซึ่งเรื่องเอดส์ถูกนำไปเชื่อมโยงกับวัฒนธรรมทางเพศในหลายประเทศรวมถึงไทยด้วย เมื่อสังคมตีกรอบแบบนี้ จึงทำให้เกิดการตีตราและการเลือกปฏิบัติ” สิ่งที่คุณอภิวัฒน์เล่านั้น สามารถสะท้อนมุมมองของคนในสังคมยุคนั้นได้ว่า โรคเอดส์เป็นโรคน่ารังเกียจ เป็นแล้วตาย เกิดจากความสำส่อนทางเพศ และไม่อยากข้องเกี่ยวด้วย แต่มีคนกลุ่มเล็กๆ ที่ร่วมกันต่อสู้เพื่อผู้ติดเชื้อได้รับการดูแลรักษา เพื่อให้มีชีวิตยืนยาวต่อไปให้นานที่สุด “ในอดีต ผมและเพื่อน ๆ เชื่อในเรื่องการเป็นเจ้าของปัญหา เอชไอวีไม่ควรเป็นเรื่องของกลุ่ม Key populations เท่านั้น แต่ควรเป็นเรื่องของเราทุกคน จึงล้มลุกคลุกคลานร่วมกันต่อสู้และผลักดันเชิงนโยบาย โดยมีเป้าหมายในการเข้าถึงสิทธิการรักษาและส่งเสริมการอยู่ร่วมกันด้วยการเคารพในความเท่าเทียม จากเป้าหมายแรก ๆ คือ จากที่ไม่มียา ก็ทำให้มียา จากราคาที่แพงก็ต่อสู้เรื่องสิทธิบัตรทำให้ยามีราคาถูกลง”   อีกหนึ่งความสำเร็จที่ภาคภูมิใจของคุณอภิวัฒน์ คือ การต่อสู้เพื่อให้มีระบบหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ และการต่อสู้จนมียาต้านไวรัสเพื่อดูแลผู้ติดเชื้อทุกคนในประเทศให้เข้าถึงระบบการรักษาอย่างดีที่สุด “ปัจจุบันการเข้าถึงสิทธิการรักษาของไทยดีขึ้นเรื่อย ๆ มีสูตรยาตัวใหม่ อันเนื่องมาจากการทำงานของเครือข่ายผู้ติดเชื้อฯ ภาครัฐ และภาคประชาสังคมที่บูรณาการร่วมกัน แต่เรื่องการตีตราและเลือกปฏิบัตินั้นเป็นปัญหาที่ยังไม่สามารถทำให้หมดไปจากสังคมไทยได้ แม้จะมีองค์กรรัฐและเอกชนหลายแห่งจะประกาศนโยบายไม่ต้องตรวจเอชไอวีก่อนเข้าทำงานแล้วก็ตาม” แม้ว่าปัจจุบันจะมีการรักษา การให้ยาต้านไวรัสกับผู้ติดเชื้ออย่างทั่วถึง แต่ก็ยังมีคนที่หายไปจากระบบ (Lost to follow up) อยู่เป็นจำนวนไม่น้อย นี่อาจเป็นหนึ่งในรอยรั่ว (Gap) ที่ทำให้ยังพบผู้ติดเชื้อรายใหม่อยู่ “ควรต้องมีแผนการติดตามอย่างจริงจัง ว่าทำไมถึงหายไป เพราะชีวิตคน ๆ นึง มีหลายมิติ หลายปัจจัย มิติทางสังคมที่ส่งผลกระทบ เช่น ความไม่สบายใจในการกินยา สูตรยาเป็นมิตรได้มาตรฐานตามแนวทางของประเทศหรือไม่ หรือปัญหาสภาพเศรษฐกิจทางบ้าน เป็นต้น แกนนำและเจ้าหน้าที่ของโรงพยาบาลต้องช่วยกันออกแบบระบบการดูแลคนเหล่านี้ให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น”   ผู้ติดเชื้อ สีแดง สีเหลือง สีเขียว “ตัวระบบบริการควรส่งเสริมให้ผู้ติดเชื้อให้สามารถดำเนินชีวิตไปข้างหน้าได้ เราจะออกแบบระบบนี้อย่างไร ซึ่งอาจต้องเริ่มจากการวิเคราะห์ผู้ติดเชื้อออกเป็นกลุ่มให้ชัดเจน เช่น กลุ่มสีแดง คือ กลุ่มที่มาใหม่ มีปัญหาความทับซ้อนเรื่องโรคฉวยโอกาส และต้องอาศัยการดูแลติดตามอย่างใกล้ชิด กลุ่มสีเหลือง คือ กลุ่มที่พัฒนาขึ้นมาจากสีแดง ซึ่งระบบจะต้องออกเป็นให้เขาพัฒนาไปเป็นสีเขียวให้ได้ กลุ่มสีเขียว คือ กลุ่มที่พัฒนาตัวเองขึ้นมาจากสีแดงและสีเหลือง มีความรับผิดชอบในการกินยา สามารถจัดการชีวิตคนเองได้เป็นอย่างดี ดังนั้น เมื่อมีการวิเคราะห์โดยแบ่งผู้รับบริการออกเป็นประเภทอย่างชัดเจนแล้ว จะนำไปสู่การออกแบบระบบให้บริการที่มีประสิทธิภาพและตอบโจทย์ความต้องการของผู้รับบริการได้อย่างแท้จริง” นอกจาก 3 กลุ่มนี้ คุณอภิวัฒน์ยังเสนออีกกลุ่มที่ไม่มีสี คือ กลุ่มคนที่ Lost to follow up ซึ่งจะต้องมีระบบการให้บริการที่พิเศษกว่า 3 กลุ่มแรก ปัจจุบันแกนนำกลุ่มผู้ติดเชื้อกำลังทำงานร่วมกันเพื่อวิเคราะห์ปัญหาของคนกลุ่มนี้ และนำไปออกแบบระบบบริการที่ตรงความต้องการ สามารถลดจำนวนของผู้รับบริการที่หายไปจากระบบได้มากขึ้น เสนอให้มี 95 ตัวที่ 4 “95 ตัวที่ 4 นี้ เป็นเรื่องของคุณภาพชีวิต เพื่อให้ผู้ติดเชื้ออยู่ในระบบได้อย่างมีความสุข และช่วยแก้ปัญหา  Lost to follow up เช่น คนที่ขึ้นเลข NAP แล้วหายไปไหน และเราจะติดตามคนเหล่านี้กลับเข้าสู่ระบบได้อย่างไร จำเป็นต้องวิเคราะห์และออกแบบระบบบริการให้ตอบโจทย์และทำให้เขาเห็นว่า การเข้าถึงการรักษาจะสามารถเปลี่ยนแปลงชีวิตเขาได้อย่างไร” คุณอภิวัฒน์เล่าให้เราฟังว่า มีความสุขที่ได้เห็นการเข้าถึงการรักษา ทำให้ชีวิตหลายคนเปลี่ยนไปอย่างชัดเจน “ผมเห็นผู้ติดเชื้อหลายคนมีอายุยืนยาวและสูงวัยกันเยอะมาก และเขาใช้ชีวิตอยู่ได้ภายใต้บริบทที่เขาอยู่ มีลูกมีหลาน เด็กที่อยู่ร่วมกับเชื้อตั้งแต่แรกเกิดก็โตเป็นหนุ่มเป็นสาวแล้ว สะท้อนให้เห็นว่าเขาก็ไม่ตาย เขาก็อยู่ได้นะ” ข้อจำกัดของการทำงานด้านเอชไอวี “ในอดีตจนถึงปัจจุบันจะพบปัญหาเรื่องงบประมาณสนับสนุนคนทำงาน ประเทศไทยมีกลไกคณะกรรมการเอดส์แห่งชาติ เรามีคณะอนุกรรมการที่ขับเคลื่อนเรื่องนี้ แต่เป็นกลไกที่ไม่ได้มีงบประมาณในการทำงาน เป็นลักษณะกลไกแบบงานวิชาการและราชการพอสมควร ถึงแม้จะมีภาคประชาสังคมร่วมในคณะก็ตาม ผมคิดว่าเรื่องนี้เป็นเรื่องใหญ่ ส่งผลให้เราต้องพึ่งพางบประมาณจากต่างประเทศมาเป็นระยะเวลายาวนาน” กองทุนโลกเข้ามาเติมเต็มการทำงานภาคประชาสังคม “องค์กรที่จัดสรรงบประมาณมาสนับสนุนกลไกการทำงานด้านเอชไอวีให้กับองค์กรภาคประชาสังคมส่วนใหญ่จะมาจากต่างประเทศ และกองทุนโลกก็เป็นหนึ่งในงบประมาณมาให้กับประเทศไทยมาโดยตลอด...

AHF TALKS : ยุติเอดส์ปี 2030 เป้าหมายสำคัญของประชาคมโลก
Post

AHF TALKS : ยุติเอดส์ปี 2030 เป้าหมายสำคัญของประชาคมโลก

ปัจจุบันยังไม่มียาหรือวัคซีนที่สามารถรักษาโรคภูมิคุ้มกันบกพร่อง (AIDS) ให้หายขาดได้ และยังมีคนจำนวนไม่น้อยที่ติดเชื้อไวรัสเอชไอวีแต่ยังไม่ได้รับยาต้าน ที่น่าเป็นห่วงคือหลายคนไม่รู้สถานะตนเอง ทำให้เกิดการส่งต่อเชื้อไปยังผู้อื่น ประชาคมโลกจึงได้ร่วมกันตั้งเป้ายุติการแพร่ระบาดของ HIV/AIDS ภายในปี ค.ศ. 2030 ซึ่งประเทศไทยเอง ก็ได้กำหนดยุทธศาสตร์แห่งชาติว่าด้วยการยุติปัญหาเอดส์ พ.ศ. 2560-2573 โดยมีเป้าหมายหลัก 3 ข้อ คือ “ไม่ติด ไม่ตาย ไม่ตีตรา” และสอดคล้องกับเป้าหมาย 95-95-95 ภายในปี พ.ศ. 2573 AHF Thailand มีโอกาสได้พูดคุยกับ คุณพร้อมบุญ พานิชภักดิ์ กรรมการและเลขาธิการมูลนิธิรักษ์ไทย ผู้อุทิศตนเพื่อช่วยเหลือและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนไทยมาเกือบทั้งชีวิต คุณพร้อมบุญได้เล่าถึงความสำคัญในการสานต่องานของ Care International (ประเทศไทย) จากอดีตจนกลายมาเป็นมูลนิธิรักษ์ไทยในปัจจุบัน ซึ่งหนึ่งในภารกิจหลัก คือ การส่งเสริมสุขภาพและการป้องกันการติดเชื้อเอชไอวี วัณโรค และมาลาเรีย   “เมื่อ 40 ปีที่แล้วเราคือ องค์การแคร์นานาชาติประเทศไทย ทำหน้าที่ให้การช่วยเหลือผู้ลี้ภัยสงครามจากประเทศกัมพูชาและขยายขอบเขตการดำเนินงานเรื่อยมา จนเปลี่ยนมาเป็นมูลนิธิรักษ์ไทยเมื่อปี พ.ศ. 2540 โดยยังคงสานต่องานขององค์การแคร์นานาชาติประเทศไทย” “ปัจจุบันองค์การแคร์ดำเนินงานด้านพัฒนาชุมชนทั้งในประเทศและภาคพื้นเอเชียแปซิฟิกที่เป็นสากลในระดับโลก มีวิสัยทัศน์ที่ต้องการให้ประชาคมเข้มแข็ง มีคุณภาพชีวิตที่ดี มีสิทธิความเสมอภาค สามารถกำหนดอนาคตของตัวเอง และเกิดการพัฒนาอย่างยั่งยืน โดยมีภารกิจสำคัญในการพัฒนาและเสริมสร้างศักยภาพกลุ่มคนด้อยโอกาส ชุมชนยากจน ตลอดจนส่งเสริมให้เกิดความร่วมมือในงานพัฒนา” มูลนิธิรักษ์ไทยมีภารกิจที่สอดคล้องกับภารกิจของ AHF Thailand ในงานด้าน HIV/AIDS ที่ต้องการเข้าถึงกลุ่มประชากรหลักเพื่อตรวจหาเชื้อและพาเข้าสู่การรักษาโดยเร็วที่สุด โดยมุ่งสู่เป้าหมายเดียวกัน คือ “การยุติเอดส์ภายในปี 2030” ซึ่งหลายคนอาจเกิดคำถามขึ้นในใจว่า จะยุติเอดส์ได้จริงหรือ ? “UNAIDS เริ่มวิตกว่าการยุติเอดส์อาจไม่เป็นไปตามเป้า เพราะมีปัจจัยอื่น ๆ โดยเฉพาะโควิด-19 ที่ส่งผลกระทบต่องานด้าน HIV/AIDS ทำให้หลายประเทศคิดว่า การยุติเอดส์อาจมีแนวโน้มไม่สำเร็จตามเป้าหมาย” ในส่วนของประเทศไทยนั้น มีการจัดสรรงบประมาณเพื่อการดูแลรักษาผู้อยู่ร่วมกับเชื้อ HIV สูงมาก ถือเป็นเรื่องที่ดี แต่จะดียิ่งขึ้นถ้าสามารถชะลอผู้ติดเชื้อรายใหม่ได้ ซึ่งในการทำงานก็จำเป็นต้องมีงบประมาณเข้ามาช่วยเพื่อให้สามารถขับเคลื่อนงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ PR ประเทศไทย “ในอดีตประเทศไทยมีองค์กรที่เป็นแหล่งทุนภาคประชาสังคมน้อยมาก มูลนิธิรักษ์ไทยจึงสมัครเป็นผู้รับทุนหลัก (Principal Recipient : PR) กับกองทุนโลก (Global Fund) ตั้งแต่การระดมทุนรอบที่ 2 โดยผ่านการคัดเลือกจากคณะกรรมการกลไกความร่วมมือในประเทศ (Country Coordinating Mechanism: CCM) เพราะต้องการแก้ปัญหาให้กับกลุ่มแรงงานข้ามชาติที่มาทำงานในไทย ถือเป็นจุดเริ่มต้นและบทบาทสำคัญในฐานะ PR ของประเทศไทย ซึ่งปัจจุบันได้ขยายขอบเขตการช่วยเหลือครอบคลุมไปถึง Key populations ที่สำคัญอีกหลายกลุ่ม เช่น ผู้ใช้สารเสพติดชนิดฉีด ผู้มีความหลากหลายทางเพศ และพนักงานบริการ” คุณพร้อมบุญเล่าให้ฟังว่า Global Fund เป็นองค์กรทุนนานาชาติเดียวที่ยืนหยัดมุ่งมั่นในการยุติโรคเอดส์ วัณโรค และมาลาเรียอย่างต่อเนื่อง เป็นโครงการระยะยาว ซึ่งแตกต่างจากแหล่งทุนอื่นที่มักเป็นระยะสั้น ๆ ไม่เกิน 3 ปี ประกอบกับการมีผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย (Stakeholder) หลากหลายกลุ่มเข้ามาช่วยพัฒนาโครงการ “Global Fund เน้นเรื่องความโปร่งใสของการนำงบประมาณไปใช้ แต่ละโครงการจะมีการชี้แจงรายละเอียดในเอกสารงบประมาณที่มีความละเอียดกว่า 300 รายการ ซึ่งเราได้ทำตามมาตรฐานอย่างเต็มที่จนเป็นหนึ่งในประเทศที่ยังได้รับการสนับสนุนมาอย่างต่อเนื่อง นั่นคือเหตุผลที่รักษ์ไทยให้คุณค่าและความสำคัญกับ Global Fund” “ในแต่ละพื้นที่แต่ละประเทศก็จะมีบริบทและความสามารถแตกต่างกัน ซึ่ง Global Fund จะมีกลไกให้แต่ละประเทศวิเคราะห์ปัญหาของตนเอง เช่นในไทยเองมีความพร้อมเรื่องการรักษา มียาต้านไวรัสเอชไอวี ยารักษาวัณโรคเพียงพออยู่แล้ว Global Fund จึงให้งบประมาณสนับสนุนงานเชิงรุกด้านการเข้าถึงประชากรหลักที่ไทยยังเข้าถึงได้น้อย” บทบาทภาคประชาสังคมต่อการยุติเอดส์ “ปัจจุบัน Global Fund ได้กำหนดให้แต่ละประเทศมี PR แค่ 2 ประเภท คือ ภาคประชาสังคม และภาครัฐ (ในประเทศไทย คือ กรมควบคุมโรค) ซึ่งที่ผ่านมา ทั้ง 2 PR ได้รับทุนและร่วมกันขับเคลื่อนงานมุ่งไปสู่เป้าหมายการยุติเอดส์ วัณโรค และมาลาเรีย และนี่ถือเป็นบทบาทสำคัญของรักษ์ไทยในฐานะ PR ของภาคประชาสังคม” เมื่อรักษ์ไทยทำงานด้านการพัฒนาคุณภาพชีวิตประชากรในระดับสากล ก็ย่อมต้องมีความสอดคล้องกับเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน หรือ SDGs “Global Fund เน้นให้ความสำคัญเรื่องสุขภาพ การเข้าถึงสิทธิต่าง ๆ อย่างเท่าเทียมในทุกกลุ่มประชากร และคิดว่าไม่มีองค์กรใดที่มี Scale เทียบเท่ากับ Global Fund ที่มีการให้ทุนทั่วโลกราวพันล้านดอลลาร์ต่อปีและมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นทุกปี ถือว่าได้รับความเชื่อมั่นจากประเทศสมาชิกและเอกชนที่บริจาคเงินตั้งแต่ต้นมาจนถึงปัจจุบัน”...

AHF THAILAND STAYING ALIVE THE SERIES : Positive Energy พลังแห่งการให้ที่ไม่สิ้นสุด
Post

AHF THAILAND STAYING ALIVE THE SERIES : Positive Energy พลังแห่งการให้ที่ไม่สิ้นสุด

เมื่อเอ่ยถึง “พลังบวก” (Positive Energy) คำคำนี้มีความหมาย มีความสำคัญกับคุณและคนรอบข้างอย่างไร ? เมื่อคนเราต้องมีชีวิตอยู่เพื่อใครอีกหลายคน “พลังบวก” จึงเปรียบเสมือนพลังงานที่คอยหล่อเลี้ยง เติมเต็มคนที่หลายคนเรียกว่า “จิตอาสา” ให้มีพลังที่จะขับเคลื่อนงานที่ตนได้รับมอบหมายอย่างเต็มที่ต่อไป เพราะเป็นสิ่งที่มีคุณค่ามาก สำหรับหัวใจของคนที่เป็น “ผู้ให้” เมื่อเร็ว ๆ นี้ AHF Thailand ได้เชิญกลุ่มคนจิตอาสาที่เป็นภาคีเครือข่ายมาร่วมกิจกรรม “เวทีพัฒนาศักยภาพบุคลากร ด้านการดูแลผู้อยู่ร่วมกับเชื้อ HIV” ซึ่งเราเรียกทีมนี้ว่า “Care & Support Team” เวทีครั้งนี้ เต็มไปด้วยการแชร์องค์ความรู้ ประสบการณ์ แรงบันดาลใจ รวมทั้งเหตุการณ์เกี่ยวกับ HIV ในประเทศไทยจากอดีตจนถึงปัจจุบัน ตลอดจนปัญหาที่พบในการทำงานจริงของอาสาสมัครแต่ละคน เพื่อรวบรวมตกผลึกเป็นชุดองค์ความรู้และแนวทาง ในการสนับสนุนการดูแลผู้อยู่ร่วมกับเชื้อ HIV ให้มีคุณภาพอย่างยั่งยืน AHF Thailand อยากจะนำเสนอแนวคิดพลังบวกที่ได้จากการแบ่งปันของเหล่าอาสาสมัครทั้งรุ่นบุกเบิกและรุ่นใหม่ที่เพิ่งเข้ามาสู่วงการ เพื่อเป็นแรงบันดาลใจกับผู้อ่านหรือผู้ที่ทำงานด้านการดูแลผู้อยู่ร่วมกับเชื้อ HIV ตลอดจนผู้ที่ทำงานอาสาสมัครด้านอื่นๆ เรามาฟังแนวคิดและประสบการณ์ทำงานจากพี่ ๆ อาสารุ่นบุกเบิกกันว่าสมัยนั้นเกิดเหตุการณ์อะไรเกิดขึ้นบ้าง และพวกเขาผ่านจุดนั้นมาได้อย่างไร สมชัย พรหมสมบัติ ผู้อำนวยการ มูลนิธิ เดอะพอส โฮมเซ็นเตอร์ “ยุคแรกที่เชื้อ HIV เข้ามาในไทย พี่ขอเรียกว่า “ยุคปี๊บคลุมหัว” คนที่อยู่ร่วมกับเชื้อไม่สามารถบอกใครได้เลย แม้กระทั่งคนในครอบครัว จะออกจากบ้านทีต้องสวมอุปกรณ์ปกปิดหน้าตาและร่างกายอย่างมิดชิด เพราะกลัวเจอคนรู้จัก แต่ด้วยความจำเป็นต้องเดินทางไปพบหมอ ไปรับยาที่โรงพยาบาล จึงไม่มีทางเลือก ค่ายาปีละเป็นแสน คนที่ได้รับยาต้องเข้าระบบโครงการวิจัยเท่านั้น นี่คือเรื่องจริงในอดีตที่ พี่ๆ อาสาสมัครรุ่นก่อนได้พบ และมักจะได้ยินประโยคที่ว่า “เอดส์..เป็นแล้วตาย” จึงเป็นอะไรที่คนค่อนข้างกลัวมาก ประยงยุทธ ลีสิงห์ ประธานกลุ่มเอ็มแคน – ขอนแก่น “ในปี 2549 มีการประชุมระหว่างรัฐบาลไทยกับสหรัฐอเมริกา ที่โรงแรมเชอราตันเชียงใหม่หลายประเด็น อาทิ ข้อตกลง TRIPS ที่ส่งผลกระทบต่อระบบยา ในกรณีสิทธิบัตรยานั้น หากไทยยินยอมขยายระยะเวลาการคุ้มครองสิทธิบัตรออกไป จะทำให้ยามีราคาแพงขึ้น และผู้อยู่ร่วมกับเชื้อ HIV ไม่สามารถเข้าถึงยาต้านไวรัส เช่น Indinavir และ Efavirenz ได้” “ตอนนั้นมีคนใกล้ตัวเสียชีวิตเพราะ HIV เยอะมาก เพราะยามีราคาแพงและมีผลข้างเคียงสูง พอเรารู้ว่าเขาจะมีการเจรจาพูดคุยเรื่องจดสิทธิบัตรยาต่อเนื่อง ประกอบกับทีมหมอไร้พรมแดนเข้ามากระตุ้นให้พวกเราเรียกร้องสิทธิ์ในการเข้าถึงยาเพื่อตนเองและคนรุ่นหลัง ตอนนั้นพวกเราฮึกเหิมมาก ทางเครือข่ายที่ดูแลผู้อยู่ร่วมกับเชื้อและผู้อยู่ร่วมกับเชื้อทั่วประเทศได้กระจายข่าวออกไป จึงเกิดการชุมนุมใหญ่เพื่อแสดงจุดยืนไม่ให้เกิดการจดหรือขยายเวลาสิทธิบัตรยา” ชัยชนะเพื่อคนรุ่นหลัง “สุดท้ายพวกเราก็ชนะ หลังจากนั้น ช่วงต้นปี 2550 ไทยได้ซื้อยาจากอินเดียในราคาถูกลงกว่าครึ่ง ต่อมาองค์การเภสัชกรรมสามารถผลิตยาได้เอง และสำนักงานประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) ได้บรรจุเป็นยาในบัญชีหลักแห่งชาติ ทำให้พี่น้องเราเข้าถึงยาต้านไวรัสได้ จำนวนผู้เสียชีวิตก็ลดลง นี่คือ อีกหนึ่งเหตุการณ์สำคัญที่รุ่นพี่ ๆ ตั้งใจรวมพลังกันผลักดัน เพื่อให้คนรุ่นหลังได้มียาราคาถูกและมีสิทธิ์ได้รับยาฟรีไปรักษาตนเอง” ประสบการณ์ของรุ่นพี่สะท้อนให้เห็นการต่อสู้ของคนกลุ่มหนึ่งที่เรียกตัวเองว่าจิตอาสาที่รวมพลังกันเป็นหนึ่งเดียว ทุกคนมีเป้าหมายเดียวกัน คือ ต้องการพัฒนาคุณภาพชีวิต หรือช่วยชีวิตของผู้อยู่ร่วมกับเชื้อ HIV ให้มีชีวิตยืนยาวขึ้น และสามารถใช้ชีวิตร่วมกับคนทั่วไปในสังคมได้ แต่ปัจจุบันกลุ่มคนรุ่นบุกเบิกอ่อนแรงและกำลังไปตามกาลเวลา จะมีใครมาสานต่อพันธกิจที่สำคัญเหล่านี้หรือไม่ ถ้ามี คนรุ่นใหม่ ๆ จะมีแรงบันดาลใจและมีความมุ่งมั่นในการสานต่องานนี้แค่ไหน.. ฐิติญาณ ไชยรัตน์สัมพันธ์ เจ้าหน้าที่โรงพยาบาลบางละมุง ชลบุรี “ตอนแรกตั้งคำถามกับตัวเองว่า เรามาทำอะไรที่นี่ ? เราไม่มีความรู้ด้าน HIV มาก่อน แต่ในฐานะที่เป็นเจ้าหน้าที่ให้บริการคนไข้ จึงพยายามศึกษาหาความรู้ จนวันนึงมีความคิดที่ว่า อยากให้คนไข้มีคุณภาพชีวิตที่ดี เราได้เห็นคนไข้เคสที่อาการหนัก และเราดูแลตั้งแต่การพาเข้าสู่ระบบการรักษา ติดตาม ปัจจุบันเราเห็นเขาดีขึ้นมาก แล้วเขาเดินมาขอบคุณเรา ก็รู้สึกดีใจอย่างบอกไม่ถูก ทำให้มีพลังที่จะทำงานนี้ต่อไป” น้องฟลุ๊คยังเล่าให้เราฟังว่า การมาเวทีนี้ทำให้รู้ว่าอาสาสมัครรุ่นก่อน ต้องผ่านการต่อสู้กันมาอย่างยากลำบาก นั่นเป็นหนึ่งในแรงบันดาลใจที่ทำให้น้องฟลุ๊ค ตั้งมั่นที่จะนำ Case study และประสบการณ์ที่มีคุณค่าเหล่านี้ กลับไปพัฒนางานของตัวเองอย่างเต็มความสามารถต่อไป วรัญญา ประเสริฐ เจ้าหน้าที่โครงการอาวุโส สมาคมวางแผนครอบครัวแห่งประเทศไทยฯ (สวท) “รู้สึกชื่นชมพี่ ๆ อาสารุ่นบุกเบิกที่ทำงานกันอย่างจริงจัง เพราะพี่ ๆ ไม่ได้แค่ต่อสู้ให้ผู้อยู่ร่วมกับเชื้อได้เข้าถึงสิทธิการรักษาที่ดี แต่ยังต้องสู้กับการตีตราและเลือกปฏิบัติของคนทั่วไป เพื่อให้มีความเข้าใจและยอมรับมากขึ้น ปัจจุบันตนได้รับมอบหมายให้ดูแลงานด้านป้องกันการติดเชื้อ HIV ทำให้มีโอกาสได้ให้ความรู้ด้านการป้องกัน การสร้างทัศนคติที่ดีต่อ HIV และสนับสนุนให้เข้าถึงบริการ VCT ในหลาย ๆ กลุ่มประชากร เช่น เยาวชน MSM, TG และกลุ่มพนักงานบริการ”...

AHF THAILAND STAYING ALIVE THE SERIES: “Pride Month” เดือนแห่งความเท่าเทียม
Post

AHF THAILAND STAYING ALIVE THE SERIES: “Pride Month” เดือนแห่งความเท่าเทียม

บุคคลที่มีความหลากหลายทางเพศ หรือ LGBTQ+ ล้วนเป็นเพื่อน พี่ น้อง และเป็นคนในครอบครัวของเรา ถึงเวลาแล้วหรือยัง ? ที่ประชาชนคนไทยจะมีสิทธิและความเท่าเทียมกันในทุก ๆ ด้าน

AHF THAILAND STAYING ALIVE THE SERIES: เพียงแค่ได้ให้ ก็สุขใจแล้ว
Post

AHF THAILAND STAYING ALIVE THE SERIES: เพียงแค่ได้ให้ ก็สุขใจแล้ว

เมื่อเอ่ยถึงคำว่า “อาสาสมัคร” หลายคนอาจคิดว่าคน ๆ นั้นต้องเป็นคนเสียสละ ชอบช่วยเหลือผู้ที่ตกทุกข์ได้ยาก แต่แท้ที่จริงแล้วยังมีปัจจัยสำคัญอีกหลายอย่างประกอบกันจนหล่อหลอมคนเหล่านี้ให้กลายเป็นบุคคลที่พร้อมจะทำคุณประโยชน์ให้กับสังคม เพื่อจุดหมายปลายทางอันเดียวกันนั่นก็คือ “การช่วยเหลือเกื้อกูลเพื่อนมนุษย์” วันนี้ AHF Thailand ขอนำเสนอมุมมองและแนวคิดที่น่าสนใจของบุคคลที่เรียกได้ว่าเป็นจิตอาสาตัวพ่อในจังหวัดขอนแก่น คุณประยงยุทธ ลีสิงห์ ประธานกลุ่มเอ็มแคน (M-CAN) ผู้ที่อุทิศตนทำงานเพื่อผู้อยู่ร่วมกับเชื้อเอชไอวีในจังหวัดขอนแก่นมานานกว่า 15 ปี จนเกิดภาพจำที่คนไข้หรือคนทั่วไปมักได้พบเห็นจนชินตา คือ พี่ยุทธเป็นอาสาสมัครที่ให้ความรู้ด้านเอชไอวีในโรงพยาบาลหรือสถานที่ต่างๆ และมักจะนำทีมลงพื้นที่ติดตามเยี่ยมเยียนผู้อยู่ร่วมกับเชื้อเอชไอวีถึงบ้านอยู่เสมอ ซึ่งหลายคนทำงานและหยุดวันเสาร์หรืออาทิตย์ นั่นคือสาเหตุที่พี่ยุทธแทบจะไม่ค่อยมีวันหยุดกับเขา “คำว่าอาสาสมัครในมุมมองของพี่คือ มันต้องมีใจรักในงานบริการมาเป็นอันดับแรก ที่สำคัญต้องมีความรู้ มีสติ มีหัวใจของการเป็นผู้ให้ เช่น ให้คำปรึกษา ให้กำลังใจ ให้ความช่วยเหลือ ไม่ว่าจะเจอคนไข้แบบไหนเราต้องเอาอยู่” พี่ยุทธบอกว่าหลายคนต้องเลิกเป็นอาสาสมัครเพราะไม่มีค่าตอบแทน หลายคนทำงานประจำและใช้เวลาว่างเพื่อมาทำงานจิตอาสา แล้วแต่บริบทและความจำเป็นของแต่ละคน ดังนั้นจะเห็นได้ว่า “อาสาสมัครมักจะอยู่ไม่ได้นาน นอกจากจะมีใจรักจริงๆ” “สมัยก่อนอาสาสมัครจะได้ค่าจ้างวันละ 200 บาท เวลาเราไปเยี่ยมคนไข้ก็ไม่มีค่าน้ำมันหรือค่าข้าวให้ ก็ต้องไปขอแม่ แม่ก็ถามกลับมาว่าทำงานยังไงทำไมไม่มีค่าข้าวค่าน้ำมัน (หัวเราะ)” นอกจากเป็นคนมีจิตอาสา มีทุนทรัพย์ของตัวเองแล้ว การทำให้ตัวเองเป็นที่ยอมรับจากสังคม โรงพยาบาล หรือคนไข้ ก็เป็นหนึ่งในคุณสมบัติสำคัญที่อาสาสมัครควรต้องมี “การจะทำให้เขายอมรับเราได้ เราต้องมีศักยภาพมากพอ พี่ยุทธพยายามมา 10 กว่าปี เพื่ออบรมหาข้อมูลความรู้ในด้านต่าง ๆ ฝึกทักษะที่จำเป็นอย่างหนัก จนได้รับการยอมรับว่า อาสาสมัครก็สามารถทำหน้าที่บางอย่างเพื่อช่วยแบ่งเบาภาระของหมอและพยาบาลได้” เมื่อเป็นที่ยอมรับจากทุกฝ่ายแล้ว พี่ยุทธและทีมงานก็ได้ตั้งกลุ่มเพื่อทำงานด้านจิตอาสาชื่อ “M-CAN (เอ็มแคน)” ซึ่งมีที่มาและความหมายที่น่าสนใจมาก โดย เอ็ม (M) ย่อมาจากคำว่า MSM คือ กลุ่มชายที่มีเพศสัมพันธ์กับชาย ประกอบกับคำว่า แคน ซึ่งหมายถึงเครื่องดนตรีของชาวอีสานบ้านเราที่สามารถสะท้อนถึงอัตลักษณ์ในพื้นที่ได้เป็นอย่างดี “กลุ่มเอ็มแคน จะดูแลรับผิดชอบด้านการให้คำปรึกษาและการส่งต่อผู้อยู่ร่วมกับเชื้อเอชไอวีในโรงพยาบาลขอนแก่นเป็นหลัก เริ่มตั้งแต่วัดน้ำหนัก ส่วนสูง ความดัน ซักประวัติและคัดกรองคนไข้ โดยเฉพาะเคสใหม่เราก็จะเป็นคนคอยให้คำปรึกษา การดูแลรักษาป้องกัน ตลอดจนการกินยาและผลข้างเคียงจะมีอะไรบ้าง ซึ่งเราจะแจกนามบัตรให้คนไข้ก่อนกลับบ้านเผื่อเขามีอะไรสงสัยก็โทรหาพวกเราได้ตลอดเวลา อีกหน้าที่หนึ่งที่เป็นหน้าที่ของพี่ยุทธคนเดียว คือ การประสานและส่งต่อผู้อยู่ร่วมกับเชื้อเอชไอวีไปตามสิทธิ์ประกันสังคม โดยเราจะแนะนำตั้งแต่ขั้นตอนที่ 1 2 3 ต้องทำยังไง เตรียมเอกสารอะไรบ้าง แล้วก็พาไปส่งด้วยตัวเอง ส่วนอีก 2 ที่ คือ โรงพยาบาลน้ำพองและโรงพยาบาลชุมแพนั้น เอ็มแคนจะทำหน้าที่เป็นพี่เลี้ยงให้กับอาสาสมัครในโรงพยาบาล” นี่คือสิ่งที่มีคุณค่ามากสำหรับคนที่ต้องอยู่ร่วมกับเชื้อเอชไอวี ทำให้พวกเขามีกำลังที่จะต่อสู้และลุกขึ้นยืนได้อีกครั้ง เปลี่ยนความหวังที่ริบหรี่ให้กลายเป็นแสงสว่างนำทางที่เกิดขึ้นในใจพวกเขา และนี่คือรางวัลอันยิ่งใหญ่ที่ไม่ใด้อยู่ในรูปแบบของเงินที่อาสาสมัครส่วนใหญ่มักได้รับกลับมา ซึ่งพี่ยุทธได้เล่าถึงเคสที่ประทับใจที่สุดเคสหนึ่งจากประสบการณ์ทำงานให้เราฟัง “เคสนี้เป็นใบ้ทั้งน้องผู้หญิงและน้องผู้ชาย น้องไม่รู้ว่าตัวเองท้อง พอไปตรวจก็พบว่าผลเลือดเป็นบวก โชคดีที่น้องผู้ชายผลเลือดเป็นลบ พี่ยุทธก็ให้คำปรึกษาไปว่าถ้าไม่อยากกินยาคุมก็ต้องป้องกันด้วยการใช้ถุงยางอนามัย ซึ่งตอนที่นัดน้องมาตรวจก็จะเตรียมถุงยางอนามัยกล่องใหญ่ๆ ใส่ถุงไว้ให้ เพราะนานๆ จะมาที ต้องบอกว่าเคสนี้แตกต่างจากเคสอื่นนิดนึง คือ ต้องสื่อสารด้วยการเขียนและการพิมพ์ข้อความคุยกันเพราะน้องพูดไม่ได้ทั้งคู่ พอน้องคลอดไม่กี่วันเราก็ขอไปเยี่ยมที่ห้องเช่าเลย ประจวบเหมาะที่ลูกของน้องถูกส่งไปให้ย่าเลี้ยงที่ต่างจังหวัด เลยมีเวลาได้ให้คำปรึกษาและแนะนำกัน” “ปัญหาต่อมาคือหลังจากตรวจพบเชื้อ น้องก็ถูกให้ออกจากงาน น้องเครียดมากที่แฟนต้องทำงานหาเลี้ยงเธอและลูกเพียงคนเดียว พี่ยุทธก็คิดอยู่นานว่าจะช่วยยังไงได้บ้าง เพราะน้องบอกว่าอยากทำงานที่เดิมซึ่งอยู่ที่เดียวกับแฟน จะได้ขี่รถมอเตอร์ไซต์ไปทำงานพร้อมกัน” ถ้าจะช่วยแล้วก็ต้องช่วยให้ถึงที่สุด เพราะนี่คือหัวใจของอาสาสมัคร ทำให้พี่ยุทธมีความกล้าที่จะทำทุกอย่างเพื่อทำให้น้องคนนี้ผ่านพ้นอุปสรรคครั้งนี้ไปให้ได้ “เหมือนฟ้าเป็นใจ ล่าสุดค่า VL หรือปริมาณไวรัสในเลือดของน้อง undetectable คือ ตรวจไม่พบ น้องเลยถามว่าแบบนี้แสดงว่าหายแล้วใช่มั้ย พี่ยุทธจึงตอบไปว่าต้องกินยาตลอดไปนะ ห้ามหยุดยาเด็ดขาด แล้วน้องก็ถามต่อว่าทำงานได้แล้วใช่มั้ย พี่ยุทธจึงตัดสินใจขอเข้าไปพบผู้จัดการฝ่ายบุคคลบริษัทเดิมที่น้องเคยทำ เพื่อให้ข้อมูลที่ถูกต้องเรื่องการติดต่อ การป้องกันและรักษา ในที่สุดบริษัทก็รับน้องกลับเข้าทำงานอีกครั้ง เพราะน้องกับแฟนเป็นคนขยันทำงาน ผู้จัดการจึงตัดสินใจได้ไม่ยาก ตอนนั้นพี่ยุทธรู้สึกตื้นตันและดีใจจนบอกไม่ถูก ภูมิใจที่มีโอกาสได้ช่วยเหลือน้อง ต้องขอบคุณ AHF Thailand ด้วย ที่ทำให้เกิดโครงการดี ๆ แบบนี้ขึ้นมา” แค่ได้ให้ก็มีความสุขแล้ว ไม่จำเป็นต้องรับเสมอไป “พี่ยุทธคิดว่า การได้ช่วยเหลือ การได้ให้ การที่ได้เห็นคนอื่นมีความสุขและได้เห็นรอยยิ้มของคนอื่น จากแววตาเศร้าหมองจากน้ำตาที่ผ่านมาเปลี่ยนเป็นรอยยิ้ม จากคนที่ซูบผอมกลับมาแข็งแรง กลับมาทำงาน ช่วยเหลือตัวเองและช่วยเหลือสังคมได้ อันนี้แหละที่เป็นทั้งพลังและแรงบันดาลใจให้เรายังคงทำงานตรงนี้ต่อ ซึ่งพี่คิดว่าแค่ได้ให้ก็มีความสุขแล้ว ไม่จำเป็นจะต้องรับเสมอไป” นี่เป็นเพียงแค่หนึ่งในหลายร้อยเรื่องราวที่พี่ยุทธหยิบยกมาเล่าให้เราฟัง เชื่อว่าน่าจะเป็นกำลังใจให้กับใครอีกหลายคน ไม่ว่าคนที่อยู่ร่วมกับเชื้อเอชไอวีหรือคนที่สิ้นหวังก็ตาม ได้เห็นถึงเรื่องราวและมุมมองที่น่าประทับใจของคนที่เรียกตัวเองว่า “จิตอาสา หรือ อาสาสมัคร” ซึ่งรางวัลแห่ง “รอยยิ้มและคำขอบคุณ”  ที่พวกเขาได้รับนั้นก็มากเพียงพอแล้วที่จะเป็นพลังในการทำงานต่อไป

AHF THAILAND STAYING ALIVE THE SERIES : เรื่องเล่าจากชายแดน ภายใต้แรงกดดันจากโควิด-19
Post

AHF THAILAND STAYING ALIVE THE SERIES : เรื่องเล่าจากชายแดน ภายใต้แรงกดดันจากโควิด-19

เชื่อว่าหลายหน่วยงานต้องทำงานภายใต้สถานการณ์โควิด-19 ด้วยความยากลำบาก AHF Thailand ขอแชร์เรื่องราวดี ๆ จากคุณปรียานุช อ่อนทุวงค์ ผู้ประสานงานจากสมาคมวางแผนครอบครัวแห่งประเทศไทย สำนักงานจังหวัดตาก กับองค์กรเล็ก ๆ ในชายแดนไทยเมียนมาที่ต้องฝ่าฟันอุปสรรคมากมาย..

STAYING ALIVE The Series: ก้าวข้ามอคติด้วย “ความจริง” บทพิสูจน์ของ “คนจิตอาสา”
Post

STAYING ALIVE The Series: ก้าวข้ามอคติด้วย “ความจริง” บทพิสูจน์ของ “คนจิตอาสา”

วันที่ 8 มีนาคมที่ผ่านมา ทั่วโลกรวมถึงประเทศไทยได้จัดงาน “วันสตรีสากล หรือ International Women’s Day” ประจำปี 2565 ภายใต้แนวคิด “Break the Bias : ทลายอคติ” เพื่อยกย่องในบทบาทและความสำคัญของผู้หญิงทั่วโลก ครั้งนี้ AHF Thailand ขอหยิบยกเรื่องราวของหญิงแกร่งคนหนึ่งที่พบเจอกับเรื่องราวแง่ลบในชีวิต จนวันนึงได้ตัดสินใจลุกขึ้นสู้กับอคติจากคนรอบข้างและสังคม วันนี้เธอได้ก้าวข้ามเหตุการณ์ที่บั่นทอนจิตใจในอดีต มายืนอยู่ในจุดที่เป็นผู้ให้ความรู้และสร้างคุณประโยชน์ต่อคนในชุมชนและสังคมได้อย่างสง่างาม “ตั้งแต่ทำงานที่มูลนิธิเครือข่าวเยาวชน Little Birds มา ทำให้เรามีชุดข้อมูลที่ถูกต้อง และกล้าที่จะเผชิญกับคำถามต่างๆ ที่ไม่เคยกล้าตอบ และที่สำคุญที่สุด มันทำให้เรากล้าออกจาก safe Zone ของตัวเอง” นี่คือคำพูดของคุณนิว-พิมพ์ผกา พยัคใหม่ ผู้ประสานงานมูลนิธิเครือข่ายเยาวชน Little Birds ที่เล่าให้เราฟังถึงเหตุการณ์สำคัญที่เป็นจุดเปลี่ยนของชีวิต ลดการตีตรา ก้าวข้ามอคติ ต่อสู้กับคำถาม “เมื่อก่อนเราเป็นคนไม่กล้าพูด ไม่กล้าให้ข้อมูลความรู้เรื่องเอดส์เชิงบวกที่ถูกต้องกับใครเลย เพราะกลัวเขาจะสงสัยว่าเราเป็นผู้ติดเชื้อ HIV รึเปล่า จุดเริ่มต้นอยู่ตรงที่การรวบรวมความกล้าที่จะตอบคำถามกับคนคนหนึ่ง ซึ่งปรากฎว่าเขาหยุดฟังเราแม้ว่าเขาจะยังมีทัศนคติด้านลบอยู่ก็ตาม แต่เมื่อเขาได้รับฟังข้อมูล ที่ถูกต้องก็ทำให้เขาคิดในแง่ลบน้อยลงกว่าเดิม ถือว่านั่นเป็นจุดเริ่มต้นที่ทำให้เราลดการตีตราตัวเองและมองว่าตัวเองมีคุณค่า” “ขณะเดียวกัน ก็เกิดคำถามจากสังคมเหมือนกันว่าเราเป็น HIV รึเปล่าเลยมาทำงานตรงนี้ เราก็จะตอบแบบนี้ไปทุกครั้งว่า “คนที่มาทำงานตรงนี้ไม่จำเป็นต้องเป็นผู้ติดเชื้อ HIV เสมอไป” แต่ไม่ว่าอย่างไร เราก็พยายามให้ชุดข้อมูลเชิงบวกมากกว่าข้อมูลเชิงลบตลอด จนในที่สุดก็เกิดการยอมรับและเชื่อมั่นจากคนในชุมชน และคนเหล่านั้นยังนำข้อมูลการป้องกัน HIV ไปบอกต่อกับคนอื่นๆ ได้อีกด้วย” ลูกตั้งคำถาม ? “หลังจากที่ก้าวข้ามทุกอย่างมาได้แล้ว สิ่งที่เรากังวลที่สุดก็มาถึง คือ ลูกเริ่มสงสัยและถามเราว่า “แม่ทำงานอะไร ?” เราจึงตอบลูกไปว่า “แม่ทำงานด้าน HIV” หลังจากนั้นเวลาที่เขาไปเจอโลโก้ Little Birds เขาก็จะพูดว่า “ที่ทำงานแม่หนู” เขาพูดแบบภูมิใจในตัวเรามาก “ตั้งแต่เด็กๆ จะถูกยายและแม่สอนว่าห้ามไปมีอะไรกับผู้ชายเด็ดขาด แต่ไม่เคยพูดว่ามีอะไรได้แต่ต้องใช้ถุงยางอนามัยนะ ถ้าวันนั้นเราได้ยินข้อมูลแบบนี้อาจจะไม่ต้องกลายเป็นคุณแม่วัยใสก็ได้ ทุกวันนี้เลยพูดเรื่องการส่งเสริมการใช้ถุงยางอนามัยได้อย่างไม่อาย ในเมื่อผู้ชายไม่พกเราจะเป็นคนพกเอง ตอนนี้ลูกอายุ 9 ขวบแล้ว เราก็จะสอนลูกแบบนี้เสมอว่า “เป็นผู้หญิงอย่าอายที่จะพกถุงยาง” จนตอนนี้ลูกรู้จักการใช้ถุงยางอนามัยแล้วด้วยซ้ำ แม้ผู้ใหญ่จะบ่นว่าสอนลูกเร็วเกินไปก็ตาม” เปลี่ยนจากผู้รับเป็นผู้ให้ นิวคิดว่า “ที่ผ่านมาเราได้รับสิ่งดีๆ จากคนอื่นมาเยอะแล้ว ถึงเวลาแล้วที่นิวจะมอบสิ่งนั้นให้กับคนอื่นบ้าง” กว่า 7 ปีที่เริ่มก่อตั้งและทำงานที่มูลนิธิเครือข่ายเยาวชน Little Birds มา ถือว่าตัวเองเดินมาถึงจุดที่คิดว่าประสบความสำเร็จแล้ว โดยเริ่มจากการเข้ามาเป็นอาสาสมัครจนทุกวันนี้กลายเป็นผู้นำด้านสุขภาวะและความรู้ในการป้องกันการติดเชื้อ HIV ให้กับคนในชุมชน ทำให้เรามีชุดข้อมูลที่ถูกต้อง กล้าที่จะเผชิญกับคำถามที่ไม่เคยกล้าตอบ และพยายามให้ข้อมูลเชิงบวกให้มากที่สุด “เราสามารถเป็นทูตที่ให้คำปรึกษาด้านเอดส์โดยไม่ต้องเกรงกลัวสิ่งใดอีกต่อไป” เอดส์ก็เหมือนโควิด เป็นไม่เป็น ก็อยู่ร่วมกันได้ นิวคิดว่า “เราไม่สามารถเปลี่ยนความคิดคนทุกคนได้ แต่ความพยายามของเราสามารถเปลี่ยนทัศนคติของคนจากลบเป็นบวกได้” แต่อาจจะไม่ 100% และรู้สึกภูมิใจที่เรามีความรู้ด้านนี้ เราจะไม่โอเคกับคนที่พูดถึงโรคเอดส์ในด้านลบ หากได้ยินจะรีบเข้าไปบอกข้อมูลที่ถูกต้องกับเขาทันที” “ปัจจุบันที่มีโรคโควิด-19 เข้ามา ยิ่งทำให้เราเปรียบเทียบได้ดีมากๆ “โรคเอดส์กับโรคโควิดก็เหมือนกัน ตรงที่ตอนนี้ยังไม่มียารักษาให้หาย แต่เราจะใช้ชีวิตอยู่ร่วมกับมันได้ยังไง” ดังนั้น เราไม่ควรไปพูดไปถามเขาว่าเป็นหรือไม่เป็น แต่คิดว่าการให้คำปรึกษาโดยใช้ข้อมูลที่ถูกต้องจะช่วยให้ทุกคนเกิดความรู้ความเข้าใจในเรื่องของ HIV เชิงบวกมากขึ้น นำไปสู่การเปลี่ยนแปลงทัศนคติที่ว่า “เป็นไม่เป็น ก็สามารถอยู่ร่วมกันได้” “เมื่อเราเห็นคนที่เราให้ข้อมูลเขามีทัศนคติที่เปลี่ยนไป เรารู้สึกมีพลังและอยากทำงานต่อ “รู้สึกใจฟูมาก” วันที่ได้ยินคนเหล่านั้นพูดว่า “คนที่เป็นเอดส์ก็ไม่ได้น่ากลัวอย่างที่คิดเนาะ เขาอาจจะเป็นแค่ HIV ก็ได้” ดีใจกับสิ่งที่เราทำมามันไม่สูญเปล่า แค่เราต้องพยายามมากกว่าคนอื่นเท่านั้นเอง” ความจริง : หัวใจสำคัญในการเปลี่ยนทัศนคติ “คนที่ไม่มีความรู้เรื่อง HIV ไม่ได้แปลว่าเขาผิด และคนที่ถูกถามก็ไม่ผิดเช่นกัน ต่างคนต่างไม่ผิด แล้วทำไมเราจะให้ข้อมูลที่เป็นความจริงและถูกต้องกับคนเหล่านี้ไม่ได้ล่ะ ดังนั้นนิวจึงคิดว่า “หัวใจสำคัญของการเปลี่ยนทัศนคติของคนก็คือ ความจริงและความถูกต้อง” ไม่มีใครผิดใครถูก แค่เขาไม่รู้ว่าจะต้องพูดอย่างไร “เราจะบอกกับครอบครัวหรือคนอื่นๆ เสมอว่า ถ้าได้ยินในสิ่งที่เราไม่มีข้อมูล อย่าเพิ่งแสดงความคิดเห็นหรือพูดอะไรออกไปในทันที เพราะสิ่งที่เราคิดผิดหรือเข้าใจไปเองอาจทำร้ายคนอื่นโดยที่เราไม่รู้ตัว “เพราะคำพูดของคน สามารถฆ่าคนให้ตายได้เช่นกัน” “เราไม่อยากให้ใครมาพูดแบบลบๆ กับผู้ติดเชื้อ HIV” ถ้าหากคนคนนั้นไปพูดกับผู้ติดเชื้อที่มีจิตใจไม่แข็งแรงพอ เขาอาจจะฆ่าตัวตายไปเลยก็ได้ เราไม่อยากให้คนคนนึงต้องมาจบชีวิตเพียงเพราะลมปากคน จะเห็นได้ว่าคุณนิวเป็นคนที่มีจิตใจแข็งแกร่ง ต่อสู้กับเหตุการณ์ต่างๆ ในวัยเด็กจนเติบโต รวมถึงอคติจากคนรอบข้างและสังคม วันนี้ เธอจึงได้ตั้งปณิธานที่จะเป็นผู้ให้กับคนอื่น AHF Thailand จึงขอยกย่องคุณนิวให้เป็นสตรีที่สตรองคนหนึ่ง เนื่องในวันสตรีสากลปี 2565 ภายใต้แนวคิด “Break the Bias : ทลายอคติ” ซึ่งเราได้รับฟังหลากเรื่องราวและทัศนคติที่เธอใช้ทำลายกำแพงอคติต่างๆ...

STAYING ALIVE The Series: มูลนิธิเครือข่ายเยาวชน Little Birds บ้านที่พร้อมโอบกอดและปลอบโยน “นกตัวน้อย” ด้วยความรัก
Post

STAYING ALIVE The Series: มูลนิธิเครือข่ายเยาวชน Little Birds บ้านที่พร้อมโอบกอดและปลอบโยน “นกตัวน้อย” ด้วยความรัก

“พวกเขายังเป็นนกตัวเล็กๆ ที่ยังต้องพึ่งพาและยังต้องการมีต้นไม้ให้เกาะ Little Birds เป็นเหมือนบ้าน แม้กระทั่งบินออกไปแล้ว ไม่ว่าประสบความสำเร็จหรือไม่ เขาก็สามารถกลับมาที่บ้านหลังนี้ได้เสมอ” คุณนิว-พิมพ์ผกา พยัคใหม่ ผู้ประสานงานมูลนิธิเครือข่ายเยาวชน Little Birds บอกเล่าให้ฟังถึงความหมายของชื่อมูลนิธิฯ ที่สะท้อนให้เห็นถึงหัวใจในการทำงานของมูลนิธิฯ ได้เป็นอย่างดี