Category: บทความทั้งหมด

พร้อมไหม? ไปฟินกัน “รักฉุดใจปีใหม่สุดฟิน”
Post

พร้อมไหม? ไปฟินกัน “รักฉุดใจปีใหม่สุดฟิน”

“รักฉุดใจปีใหม่สุดฟิน” คลิปของขวัญปีใหม่ที่ #AHFThailand ร่วมกับเพจ #papapartyvoice นักพากย์ฟีลกู้ด จัดทำขึ้นเพื่อให้ความรู้เกี่ยวกับ HIV/AIDS ที่เข้าใจง่าย และถูกต้อง ปีใหม่นี้อย่าลืม! ดูแลตัวคุณเองและคนที่คุณรัก สนใจขอรับคำปรึกษาและรับบริการตรวจที่ 064 598 6112 หรือ Line ID: ahfthailand หรืออ่านข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ ahfthailand.com ขอขอบคุณ #นาดาวบางกอก ที่เอื้อเฟื้อคลิปนี้ให้ทีมงานได้มาสร้างความฟินกัน

ประกวดคลิปวีดีโอ หัวข้อ “สวมโลกใบใหม่ให้ CONDOM”
Post

ประกวดคลิปวีดีโอ หัวข้อ “สวมโลกใบใหม่ให้ CONDOM”

โอกาสในการร่วมกิจกรรมดีดีเพื่อสังคมมาถึงแล้ว!! AHF Thailand ร่วมกับหน่วยงานภาคีการทำงาน ขอเชิญนักศึกษาและเยาวชนทั่วไป ที่มีอายุระหว่าง 18-24 ปี เข้าร่วมกิจกรรม AHF Media Award และส่งผลงานคลิปวีดีโอความยาวไม่เกิน 1 นาทีเข้าประกวดในหัวข้อ “สวมโลกใบใหม่ให้ CONDOM” เพื่อสร้างทัศนคติทีดีต่อถุงยางอนามัย เปิดรับสมัครเป็นทีมๆ ละ 3 คน สมัครได้ตั้งแต่วันนี้ถึงวันที่ 31 ธันวาคม 2562 รายละเอียดเงื่อนไขการเข้าร่วมกิจกรรมและใบสมัครสามารถดาวน์โหลดได้จาก QR Code ด้านล่าง สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่เบอร์ 080-272 4301 (คุณอ้อม) หรืออีเมล์: [email protected]

น็อค HIV ให้อยู่หมัด กับนักสู้หน้าใหม่ Mobile Knockout Testing Car
Post

น็อค HIV ให้อยู่หมัด กับนักสู้หน้าใหม่ Mobile Knockout Testing Car

หลังจาก AHF Thailand และภาคีร่วมกันต่อสู้กับ HIV กันมาหลายต่อหลายยก วันเอดส์โลกปีนี้เลยจะขอส่งอีกหนึ่งนักสู้หน้าใหม่ลงเวที นั่นคือ Mobile Knockout Testing Car รถตรวจ HIV เคลื่อนที่ที่พิเศษกว่าใคร

FILM SCREENING: DRUG$ THE PRICE WE PAY
Post

FILM SCREENING: DRUG$ THE PRICE WE PAY

วันที่ 10 กันยายน 2562 ในงาน ASEAN Civil Society Conference/ ASEAN People Forum 2019 Thailand หรือ ACSC/APF 2019 ณ ศูนย์ประชุมมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์รังสิต AHF Thailand ได้จัดกิจกรรม FILM SCREENING: DRUG$ THE PRICE WE PAY พร้อมเสวนาแลกเปลี่ยนเกี่ยวกับสถานการณ์ยาในประเทศไทย โดยจากคุณอภิวัฒน์ กวางแก้ว ประธานเครือข่ายผู้ติดเชื้อเอชไอวี/เอดส์ประเทศไทย และคุณเฉลิมศักดิ์ กิตติตระกูล ผู้ประสานงานรณรงค์การเข้าถึงยา มูลนิธิเข้าถึงเอดส์ ราคายาในปัจจุบันกลายเป็นปัจจัยหนึ่งที่เป็นปัญหาต่อสุขภาพในปัจจุบัน ยาสำคัญหลายตัวที่ผู้คนจำเป็นต้องใช้ทุกวันมีราคาที่สูงเกินกว่าที่จะสามารถจ่ายไหวได้ ทำให้คนตกอยู่ในสภาวะยากจนเพียงชั่วข้ามคืน แต่ก็ไม่มีใครทราบว่าบริษัทยามีวิธีการอย่างไรในการกำหนดราคายา และในขณะเดียวกันผู้บริโภคกลับไม่มีอำนาจต่อรองราคายาเลยแม้แต่น้อยเหมือนกับที่สามารถต่อรองราคาสินค้าอื่น ๆ ในตลาดทั่วไปได้ ข้อตกลงว่าด้วยทรัพย์สินทางปัญญา หรือ TRIPS ถูกใช้เป็นเครื่องมือของประเทศที่พัฒนาแล้วในการบังคับให้ประเทศที่กำลังพัฒนาต้องมีกฎหมายทรัพย์สินทางปัญญา ซึ่งเอื้อประโยชน์ต่อบริษัทยาขนาดใหญ่ ทำให้คนในประเทศที่กำลังพัฒนาสามารถเข้าถึงยาและการรักษาที่จำเป็นต่อชีวิตได้น้อยลง อาทิ ยารักษาเบาหวานบางตัวในประเทศสหรัฐอเมริกาขึ้นราคาจากเดิมถึง 17 เท่า ทั้งที่เป็นยาที่จำเป็นต้องใช้ทุกวัน โดยอ้างว่าเป็นการยาที่คิดค้นขึ้นมาใหม่ แต่ที่จริงคือการนำเอาสารตั้งต้นต่าง ๆ นำมาทำส่วนผสมใหม่ โดยส่วนใหญ่บริษัทยามักจะทำในลักษณะนี้แล้วอ้างว่าเป็นยาตัวใหม่นำมาจดทะเบียนสิทธิบัตรยาในประเทศที่กำลังพัฒนา โดยที่รัฐตามไม่ทัน ซึ่งจริง ๆ แล้วยาเหล่านี้แม้นักศึกษาเภสัชกรรมปีสุดท้ายก็สามารถผลิตขึ้นเองได้ ในประเทศไทยเองก็เผชิญกับปัญญาราคายาเช่นกัน โดยจากการผลักดันของภาคประชาสังคมทำให้เกิดการทำ Compulsory licensing (CL) หรือมาตรการทางกฎหมายที่อนุญาตให้หน่วยงานภาครัฐหรือภาคเอกชนที่ไม่ใช่เจ้าของสิทธิบัตรสามารถใช้สิทธิในการผลิต การใช้ การนำเข้าผลิตภัณฑ์ที่มีสิทธิบัตรได้ตามมาตรา 51 แห่งพระราชบัญญัติสิทธิบัตร พ.ศ. 2522 ในกรณีที่มีภาวะฉุกเฉินทางด้านสาธารณสุข เราได้มีประสบการณ์ในประเทศไทยจากยาต้านไวรัสเอชไอวี ยารักษาโรงมะเร็ง และล่าสุดคือยารักษาไวรัสตับอักเสพซี ซึ่งมาเลเซียเป็นประเทศแรกในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ที่ทำ CL ซึ่งมีผลทำให้ยารักษาไวรัสตับอักเสพซีถูกลงมาถึงร้อยละ 50 ดังนั้น ภาคประชาสังคมจึงมีความสำคัญต่อการเข้ามามีบทบาทในการติดตาม และการที่จะตั้งคำถามต่อการตั้งราคายาของบริษัทยาข้ามชาติ ซึ่งการเคลื่อนไหวของภาคประชาสังคมนี้มีองค์ประกอบที่สำคัญ 3 ประการคือ ประการแรก การใช้ข้อมูลวิจัยและข้อมูลทางยุทธศาสตร์ในการเป็นพื้นฐานของการขับเคลื่อน ประการที่สอง การใช้เวทีสาธารณะเพื่อให้ผู้เกี่ยวข้องทุกภาคส่วนได้ร่วมกันแก้ปัญหาไปพร้อมกัน และประการที่สาม การสร้างความสัมพันธ์ระหว่างหน่วยงานภาครัฐและภาคประชาสังคมที่จะต้องมีการทำงานไปด้วย สามารถรับชมหนังสั้น DRUG$ THE PRICE WE PAY ได้ที่ https://www.youtube.com/watch?v=lZQe1eDuUeU

16 September 201916 September 2019by
ประชุมทวิภาคีเพื่อพัฒนากลไกการส่งต่อผู้ป่วยระหว่างประเทศ
Post

ประชุมทวิภาคีเพื่อพัฒนากลไกการส่งต่อผู้ป่วยระหว่างประเทศ

มูลนิธิศุภนิมิตรแห่งประเทศไทย ภายใต้การสนับสนุนกองทุนโลก ร่วมกับ มูลนิธิเอดส์ เฮลท์ แคร์ (ประเทศไทย) สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดระนอง และกระทรวงสาธารณสุขและการกีฬาประเทศเมียนมาร์ ได้จัดการประชุมเชิงปฏิบัติการพัฒนากลไกการส่งต่อผู้ป่วยและการสะท้อนผลระหว่างประเทศบริเวณชายแดนจังหวัดระนอง ประเทศไทย และเกาะสอง ประเทศเมียนมาร์ เมื่อวันที่ 5-6 กันยายน 2562 ณ ห้องประชุมทวีสินค้า โรงแรมทินิดี จังหวัดระนอง โดยมีนายแพทย์กัมพล ลิ่มทองนพคุณ รองผู้อำนวยการฝ่ายการแพทย์ ผู้ช่วยผู้อำนวยการกลุ่มภารกิจด้านบริการทุติยภูมิและตติยะภูมิโรงพยาบาลระนอง จังหวัดระนอง เป็นประธานในการเปิดประชุม การประชุมครั้งนี้เป็นการประชุมเชิงปฏิบัติการระดับทวิภาคีเพื่อพัฒนากลไกและความร่วมมือด้านสาธารณสุขในการดูแลและการส่งต่อผู้ป่วยวัณโรค ผู้มีเชื้อเอชไอวี ผู้ป่วยเอดส์ และมาลาเรีย ระหว่างประเทศบริเวณชายแดนจังหวัดระนอง ประเทศไทย และเกาะสอง ประเทศเมียนมาร์ โดยมีการจัดทำร่างแผนการดำเนินงานอย่างเป็นระบบ มีผู้ประสานงานหลัก และเจ้าหน้าที่ส่งต่อ มีระบบการติดตามผู้ป่วยได้รับการรักษาต่อเนื่อง เพื่อการส่งต่อผู้ป่วยข้ามแดนอย่างมีประสิทธิภาพ เวทีนี้มีผู้เข้าร่วมประชุมแลกเปลี่ยนจำนวน 35 ท่าน ได้แก่ ผู้แทนจากสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดระนอง โรงพยาบาลระนอง หน่วยประสานงานชายแดนประจำพื้นที่ 6 จังหวัดระนอง กระทรวงสาธาณสุข สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดเชียงราย โรงพยาบาลแม่สาย โรงพยาบาลเชียงแสน เจ้าหน้าที่ด้านสาธารณสุขเกาะสอง ประเทศเมียนมาร์

ประชุมร่วมกับทีมพยาบาลโรงพยาบาลบางนา 1
Post

ประชุมร่วมกับทีมพยาบาลโรงพยาบาลบางนา 1

วันที่ 29 สิงหาคม 2562 เจ้าหน้าที่ AHF Thailand และมูลนิธิเดอะพอสโฮมเซ็นเตอร์ เข้าพบเพื่อแนะนำองค์กรและโครงการกับทีมพยาบาลโรงพยาบาลบางนา 1 พร้อมทั้งหารือเรื่องแนวทางการดำเนินงานร่วมกัน โรงพยาบาลบางนา 1 เป็นโรงพยาบาลเอกชนแห่งแรกที่ AHF Thailand ให้การสนับสนุนในการพัฒนาการให้บริการแก่ผู้อยู่ร่วมกับเชื้อเอชไอวี โดยมีมูลนิธิเดอะพอสโฮมเซ็นเตอร์ เป็นองค์กรประสานงานและสนับสนุนการทำงานในด้านการดูแลผู้อยู่ร่วมกับเชื้อที่มารับบริการร่วมกับโรงพยาบาล

สถานการณ์เอชไอวี/เอดส์พื้นที่กรุงเทพฯ ปี 2562
Post

สถานการณ์เอชไอวี/เอดส์พื้นที่กรุงเทพฯ ปี 2562

วันที่ 27 สิงหาคม พ.ศ. 2562 พล.ต.ท.โสภณ พิสุทธิวงษ์ รองผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร เป็นประธานเปิดการประชุมแนวทางการรายงานเฝ้าระวังการติดเชื้อเอชไอวี/เอดส์ ตามพระราชบัญญัติโรคติดต่อ พ.ศ. 2558 ผ่านระบบ Bangkok Smart Monitoring System : BSMS ซึ่งเป็นการนำเทคโนโลยีสารสนเทศเข้ามาช่วยบูรณาการในการรายงานและติดตามข้อมูลผลการดำเนินงานของสถานพยาบาลทั่วพื้นที่กรุงเทพมหานคร สามารถย่นระยะเวลาและลดขั้นตอนของการดำเนินงาน ทำให้การทำงานมีความต่อเนื่อง เกิดประสิทธิภาพและครอบคลุม โดยมี นายโกสินทร์ เทศวงษ์ ผู้ช่วยเลขานุการผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร นพ.วงวัฒน์ ลิ่วลักษณ์ รองผู้อำนวยการสำนักอนามัย พร้อมด้วยคณะผู้บริหารสำนักอนามัย กทม. และผู้เข้าร่วมประชุม ประกอบด้วย พยาบาลประจำคลินิกยาต้านไวรัส เจ้าหน้าที่คอมพิวเตอร์จากโรงพยาบาลสังกัดกระทรวงสาธารณสุข สังกัดกระทรวงกลาโหม สังกัดมหาวิทยาลัย และภาคเอกชน รวมจำนวนทั้งสิ้น 150 คน เข้าร่วมงาน ณ โรงแรมนารายณ์ เขตบางรัก กรุงเทพมหานครได้ลงนามปฏิญญาเพื่อยุติปัญหาเอดส์ Fast-Track Cities 90-90-90 ในวันเอดส์โลก เมื่อวันที่ 1 ธ.ค. 57 ณ กรุงปารีส ประเทศฝรั่งเศส และได้ดำเนินงานป้องกันและแก้ไขปัญหาเอดส์ในพื้นที่กรุงเทพมหานครมาอย่างต่อเนื่อง เพื่อให้บรรลุเป้าหมายการดำเนินงานเพื่อยุติเอดส์ภายในปี 2563 โดยปัจจุบันกรุงเทพมหานครได้ทำการคาดประมาณว่ามีผู้ติดเชื้อเอชไอวีที่มีชีวิตอยู่ในปี 2562 จำนวน 77,558 คน เป็นผู้ติดเชื้อเอชไอวีรายใหม่ จำนวน 1,190 คน ในจำนวนผู้ติดเชื้อเอชไอวีรายใหม่เป็นกลุ่มเยาวชนที่มีอายุน้อยกว่า 25 ปี จำนวน 628 คน หรือคิดเป็นร้อยละ 52.8 และมีผู้เสียชีวิตภายในปี 2562 จำนวน 1,877 คน ซึ่งข้อมูลจากสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (NAP Program) ในปี พ.ศ.2561 พบว่า มีผู้ที่ทราบสถานะการติดเชื้อเอชไอวี และมีชีวิตอยู่ จำนวน 70,747 คน ผู้ติดเชื้อเอชไอวีได้รับยาต้านไวรัสและมีชีวิตอยู่ จำนวน 55,123 คน และมีผลการตรวจพบว่ามีปริมาณไวรัสในกระแสเลือดน้อยกว่า 1,000 copies/mL จำนวน 41,893 คน รองผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร กล่าวว่า การประชุมในวันนี้ถือเป็นนิมิตหมายที่ดีที่โรงพยาบาลภาครัฐ ภาคเอกชน ตลอดจนหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ได้ให้ความสำคัญในการร่วมมือยุติปัญหาเอดส์ ด้วยเอดส์ไม่ใช่เป็นเพียงโรคและความเจ็บป่วย แต่เกี่ยวเนื่องกับชีวิตและความเป็นอยู่ของประชาชน โดยเฉพาะในกลุ่มเปราะบาง ได้แก่ กลุ่มชายที่มีเพศสัมพันธ์กับชาย กลุ่มพนักงานบริการ และกลุ่มผู้ใช้สารเสพติดชนิดฉีด รวมถึงกลุ่มเด็กและเยาวชน ซึ่งการนำเทคโนโลยีสารสนเทศเข้ามาช่วยรายงานและติดตามการดำเนินงาน จะเป็นส่วนสำคัญในการวางแผนการดำเนินงานป้องกันและแก้ไขปัญหาเอดส์ในพื้นที่กรุงเทพมหานคร ส่งผลให้ประชาชนมีคุณภาพชีวิตที่ดีต่อไป ข้อมูล: สำนักงานประชาสัมพันธ์กรุงเทพมหานคร

MR GAY WORLD THAILAND 2020 เปิดรับสมัครแล้ว
Post

MR GAY WORLD THAILAND 2020 เปิดรับสมัครแล้ว

การประกวด MR GAY WORLD THAILAND เวทีที่เฟ้นหาเกย์ไทยที่มีศักยภาพเพื่อเป็นตัวแทนไปร่วมประกวดเวทีระดับโลก AHF Thailand ในฐานะผู้สนับสนุนหลักการประกวด Mr Gay World Thailand 2019 จากประสบการณ์การมีส่วนร่วมและเฝ้ามองเวทีมาตั้งแต่ครั้งแรกที่มีการจัดขึ้น ได้เห็นวิวัฒนาการและการเติบโตของเวทีมาตามลำดับ ไม่ใช่แค่เติบโตในเชิงปริมาณที่มีผู้สนใจเข้าร่วมประกวดเพิ่มขึ้น หรือมีหน่วยงาน องค์กร ให้การสนับสนุนมากขึ้นเท่านั้น ยังหมายรวมถึงการเติบโตด้านคุณภาพ ซึ่งเวทีนี้ไม่ได้เน้นที่หน้าตา รูปร่าง หรือบุคลิก แต่เน้นที่การแสดงศักยภาพและทัศนคติที่มีในตัวผู้เข้าร่วมประกวด ผ่านการสร้างสรรค์แคมเปญกิจกรรมดีดีเพื่อสังคม ที่เหล่าผู้เข้าร่วมประกวดต้องคิดขึ้นเพื่อนำเสนอให้คณะกรรมพิจารณา ในปี 2562 ที่ AHF Thailand ได้ให้การสนับสนุนหลัก เป็นปีที่มีผู้สนใจมาสมัครมากกว่าทุกปีที่ผ่านมา และมีความหลากหลายทั้งอัตลักษณ์ทางเพศ สาขาอาชีพ และอายุ นั่นเป็นเพราะกองประกวดไม่ได้ปิดกั้น เปิดโอกาสให้ทุกคนที่อยากแสดงศักยภาพของตัวเองให้สังคมได้รับรู้ได้เข้ามามีส่วนร่วมในเวทีแห่งนี้ ด้วยความหลากหลายที่เกิดขึ้น จึงทำให้เวทีนี้แตกต่างจากเวทีประกวดอื่น สื่อต่างๆ เริ่มให้ความสนใจ และผู้ชนะในปี 2019 คือ นัท ชโยดม สามีบัติ ก็เป็นตัวแทนประเทศไทยไปประกวดเวทีโลก ณ เมืองเคปทาวน์ แอฟริกาใต้ สามารถคว้ารางวัลรองอันดับ 3 และรางวัล The Best Interview มาให้ประเทศไทยได้ชื่นชม แม้เป็นเวทีเล็กๆ แต่ก็เป็นอีกหนึ่งพื้นที่ที่ช่วยสร้างความเข้าใจให้กับสังคมในเรื่องของความหลากหลายทางเพศ เป็นอีกพื้นที่ที่ทำให้เกย์ไทยได้แสดงศักยภาพและความสามารถของตนเองให้สังคมได้ประจักษ์ ซึ่ง AHF Thailand ดีใจที่ได้ร่วมเป็นส่วนหนึ่งในการสร้างสรรค์กิจกรรมดีดีในครั้งนี้ สำหรับปีนี้ทางกองประกวดเขาเปิดรับสมัคร Mr Gay World Thailand 2020 แล้วตั้งแต่วันที่ 1-31 สิงหาคม ท่านใดสนใจก็สมัครกันได้ที่ https://mrgaythai.com/th/contestants/apply หรือ inbox สอบถามรายละเอียด www.facebook.com/mrgaythailand

หมอเตือน ผู้ติดเชื้อเอชไอวีใช้น้ำมันกัญชาระวังดื้อยาต้าน
Post

หมอเตือน ผู้ติดเชื้อเอชไอวีใช้น้ำมันกัญชาระวังดื้อยาต้าน

วันที่ 4 มิถุนายน 2562 นายแพทย์มนูญ ลีเชวงวงศ์ อายุรแพทย์ทางด้านโรคระบบทางเดินหายใจ โรงพยาบาลวิชัยยุทธ โพสต์เฟซบุ๊กส่วนตัว “หมอมนูญ ลีเชวงวงศ์ FC” ระบุเกี่ยวกับการใช้น้ำมันกัญชากับผู้ติดเชื้อเอชไอวีว่า คนไทยเกือบ 4 แสนคนที่กำลังกินยาต้านไวรัสสำหรับรักษาโรคติดเชื้อเอชไอวีและโรคเอดส์ในขณะนี้ เมื่อได้ทราบข่าวที่แชร์ในโลกโซเชียลว่าน้ำมันกัญชาช่วยรักษาโรคเอดส์ได้ (ดูรูป) อาจทดลองน้ำมันกัญชาควบคู่กับยาต้านไวรัส หรือบางคนอาจทิ้งยาต้านไวรัส ไปใช้น้ำมันกัญชาอย่างเดียว โดยไม่คิดตรึกตรองให้ดี ในข่าวเพียงแต่บอกว่าหลังจากใช้น้ำมันกัญชา 24 วัน คนไข้โรคเอดส์ที่จังหวัดเพชรบูรณ์นอนไม่ได้สติ กลับมาขยับตัว ทานอาหารได้ ไม่มีการให้ข้อมูลในผู้ป่วยรายนี้กินยาต้านไวรัส และยาอื่นๆสำหรับโรคติดเชื้อฉวยโอกาสหรือไม่ ในข่าวไม่ได้บอกว่าน้ำมันกัญชาสามารถฆ่าเชื้อเอชไอวีได้ ไม่มีหลักฐานในโลกนี้ยืนยันว่าน้ำมันกัญชาสามารถรักษาโรคติดเชื้อเอชไอวีได้ มีแต่ยาต้านไวรัสเท่านั้นที่สามารถทำให้ผู้ติดเชื้อเอชไอวีแข็งแรง มีอายุยืนยาวเหมือนคนปกติ ผมขอเตือนผู้ติดเชื้อเอชไอวีด้วยความปรารถนาดีว่า 1.อย่าใช้น้ำมันกัญชาควบคู่กับยาต้านไวรัส เพราะมีงานวิจัยว่าสารในน้ำมันกัญชามีปฏิกิริยากับยาต้านไวรัส ลดระดับยาต้านไวรัสบางตัว อาจทำให้การรักษาด้วยยาต้านไวรัสล้มเหลว นอกจากนั้นยาด้านไวรัสบางตัวมีปฏิกิริยากับน้ำมันกัญชา เพิ่มฤทธิ์ของสาร THC ซึ่งเป็นสารเสพติดมีฤทธิ์ต่อจิตประสาทมากขึ้น 2.ห้ามหยุดยาต้านไวรัสแล้วไปกินน้ำมันกัญชาแทนเด็ดขาด เพราะหลังจากหยุดยาต้านไวรัส เชื้อเอชไอวีจะพัฒนาตัวเองให้ดื้อต่อยาต้านไวรัสที่เคยกิน ทำให้ผู้ป่วยต้องเปลี่ยนยาต้านไวรัสเป็นสูตรใหม่ซึ่งมีราคาแพงขึ้นจากเดิม 10 เท่า สร้างความสูญเสียทางด้านเศรษฐกิจ และสาธารณสุขของชาติอย่างมากมาย

WHO เตือนพบผู้ป่วยโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์วันละ 1 ล้านคน
Post

WHO เตือนพบผู้ป่วยโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์วันละ 1 ล้านคน

เมื่อวานนี้ (6 มิ.ย.) องค์การอนามัยโลก (WHO) ประกาศเตือนโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ (Sexually Transmitted Diseases: STD) มีแนวโน้มแพร่กระจายอย่างรวดเร็ว ในยุคที่แอปพลิเคชันหาคู่ได้รับความนิยมเป็นอย่างมาก โดยรายงานล่าสุดของอนามัยโลกพบว่า ในปัจจุบันพบผู้ป่วยติดเชื้อทางเพศสัมพันธ์ (STI) ทั้งโรคคลามายเดีย, โรคหนองใน, โรคติดเชื้อทริโคโมแนส รวมถึงโรคซิฟิลิสรายใหม่สูงถึง 376 ล้านคนทั่วโลก โดยในแต่ละวันจะพบผู้ป่วยรายใหม่ราว 1 ล้านคน ทางด้าน ทีโอดอรา วี (Teodora Wi) ผู้เชี่ยวชาญด้านโรคติดต่อฯ ของอนามัยโลกระบุว่า ขณะนี้คู่นอนหลายคู่ใช้ถุงยางอนามัยน้อยลง ในยุคที่แอปพลิเคชันหาคู่กำลังเป็นที่นิยมเป็นอย่างมาก เพิ่มโอกาสในการติดเชื้อทางเพศสัมพันธ์ เหตุผลส่วนหนึ่งอาจเป็นเพราะพวกเขารู้สึกว่าพัฒนาการด้านการรักษาทางการแพทย์ก้าวหน้าไปมาก ทั้งนี้อนามัยโลกยังยืนยันว่า การสวมใส่ถุงยางขณะมีเพศสัมพันธ์อย่างถูกวิธี ยังเป็นวิธีการที่มีประสิทธิภาพมากที่สุดในการป้องกันตนเองจากโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ โดยอนามัยโลกระบุว่า เมื่อปี 2016 ซิฟิลิสถือเป็นสาเหตุสำคัญที่ทำให้เด็กกว่า 200,000 คนเสียชีวิตตั้งแต่อยู่ในครรภ์มารดา หรือคลอดออกมาแล้วเสียชีวิต อันดับที่ 2 คือโรคมาลาเรีย ภาพ: Manan Vatsyayana / AFP / Getty Images อ่านข่าวอื่นๆ เพิ่มเติมได้ที่ https://thestandard.co/