CUTTING EDGE MEDICINE AND ADVOCACY

REGARDESS OF ABILITY TO PAY

ทำแบบสอบถาม

จำนวน 10 ข้อ

ใช้เวลาไม่เกิน 1 นาที

โทร. 064 598 6112

Line ID: @ahfthailand

จันทร์-เสาร์ 10.00-19.00 น.

โกลฟคลินิก

โทร 092 414 9254

ทุกวัน 10.00-19.00 น.

AHF TaLks : ธรรมดามหาศาล Normal is more

AHF TaLks : ธรรมดามหาศาล Normal is more

AHF TaLks: March 2024   “เอชไอวีรักษาได้ ไม่ต้องกลัว ทุกวันนี้สามารถอยู่ร่วมกัน ทานข้าวด้วยกัน ใช้ชีวิตร่วมกันได้ตามปกติ” คำพูดของผู้ใหญ่บ้านที่มีทั้งความจริงใจ เข้าใจง่าย เป็นตัวอย่างของการสื่อสารในชุมชนที่เกิดขึ้นสม่ำเสมอ จนเกิดเป็นความรู้ความเข้าใจว่าเอชไอวีไม่ได้ติดกันได้ง่าย ๆ และถึงแม้จะเป็นก็สามารถรักษาได้ ทำให้ปัจจุบันทุกคนในชุมชนใช้ชีวิตและอาศัยอยู่กับผู้อยู่ร่วมกับเชื้อเอชไอวีได้อย่างปกติ พูดคุยกัน กินข้าวกินน้ำร่วมกันได้ ไม่มีใครรังเกียจใคร เพราะเกิดจากความเข้าใจ เปิดใจยอมรับ และให้โอกาสผู้อยู่ร่วมกับเชื้อเอชไอวีได้มีสิทธิ มีศักดิ์ศรี และมีความเป็นมนุษย์อย่างเท่าเทียมกันนั่นเอง แต่กว่าจะมาถึงจุดนี้ก็ไม่ใช่เรื่องง่ายเช่นกัน.. จากวิถีชีวิตที่แสนเรียบง่ายและธรรมดาของผู้คนในแดนดินถิ่นอีสานในอดีต ต้องพบเจอกับสิ่งใหม่ที่ไม่เคยรู้จักมาก่อน ย่อมต้องเกิดเป็นความหวาดกลัวเป็นธรรมดา ความท้าทายใหม่เริ่มเกิดขึ้นในชุมชนเมื่อ “เอชไอวี” เข้ามาเป็นบททดสอบใหม่ในช่วงแรก ๆ ในยุคที่ผู้คนล้มตายจากโรคนี้ราวกับใบไม้ร่วง เกิดเป็นภาพจำฝังใจของคนในชุมชนที่ว่า “เอดส์ = เป็นแล้วตาย” AHF Thailand ขอทำหน้าที่กระบอกเสียงในการรณรงค์และส่งเสริมความสำคัญของ “วันยุติการเลือกปฏิบัติสากล” ซึ่งตรงกับวันที่ 1 มีนาคมที่ผ่านมา ผ่านเรื่องราวของความธรรมดาที่มีความหมายและคุณค่าต่อใครอีกหลายคนอย่างมากมาย ในสังคมของการไม่เลือกปฏิบัติต่อคนในชุมชน เรียนรู้จากอดีตและเติบโตสู่ปัจจุบันจนกลายเป็นชุมชนที่เข้มแข็ง มีความโอบอ้อมอารี ความเข้าอกเข้าใจ เป็นสังคมที่เรียบง่าย ธรรมดา ผู้นำชุมชน อาสาสมัคร และคนในชุมชนต่างมีส่วนช่วยขับเคลื่อนและพัฒนาชุมชนให้น่าอยู่   การตีตรา (Stigma) คืออะไร ? การตีตรานั้นเป็นเรื่องที่เกี่ยวข้องกับทัศนคติ ความคิด ความเชื่อ ที่มีต่อการกระทำหรือพฤติกรรมของบุคคลในสังคมที่มีพฤติกรรมแตกต่างไปจากบรรทัดฐานทางสังคม นำไปสู่การปฏิบัติที่แสดงถึงการรังเกียจ กีดกัน ทั้งทางสายตา คำพูด การกระทำ ทำให้บุคคลเหล่านั้นถูกแบ่งแยก ถูกจำกัดพื้นที่ทางสังคม หรือที่เราเรียกว่า การเลือกปฏิบัติ (Discrimination)   “เอดส์” บททดสอบใหม่ในชุมชน ช่วงแรกที่มีการตรวจพบผู้ติดเชื้อเอชไอวีในประเทศไทย เป็นช่วงที่คนในสังคมเกิดความหวาดระแวงสูง กลัวติดเชื้อ เกิดการตีตราและรังเกียจ ไม่อยากเข้าใกล้ผู้ติดเชื้อ บ้านโคกน้อย ตำบลพระลับ อำเภอเมือง จังหวัดขอนแก่น ก็เป็นพื้นที่หนึ่งที่ต้องเผชิญหน้ากับสถานการณ์นี้ “ถ้ามีเพื่อนในหมู่บ้านมาบอกว่าคนนี้น่าจะเป็นโรคเอดส์ ซึ่งตอนนั้นมีชื่อเสียงโด่งดัง ใครเห็นก็กลัว ก็น่าสงสารอยู่แต่ก็ไม่อยากเข้าใกล้” คุณแม่พิมลศรี ทำสิมมา อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน (อสม.) บ้านโคกน้อย เล่าถึงสถานการณ์เอชไอวีช่วงแรกที่เริ่มเข้ามาในชุมชน “คนจะไม่กล้าเข้าใกล้เลย แม้แต่เดินสวนกันก็ต้องเดินไกล ๆ ต้องกลัวไว้ก่อน” คุณแม่นงนุช สีเทา อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน (อสม.) บ้านโคกน้อย ยอมรับว่าตอนนั้นกลัวจริง ๆ “ญาติพี่น้องรับไม่ได้ เพราะตอนนั้นเอชไอวีเข้ามาใหม่ ๆ บางคนเป็นแล้วก็ปล่อยตัวเอง อยู่ไปตามยถากรรม ยังไม่มีใครเข้ามาช่วย ช่วงนั้นหมอก็กลัวและไม่กล้าเข้าใกล้เหมือนกัน” คุณปุณยวีย์ ฤาชา ผู้ใหญ่บ้าน บ้านโคกน้อย ย้ำถึงความน่ากลัวของเอชไอวีในขณะนั้น “คนสมัยก่อนถ้ารู้ว่ามีบ้านผู้ป่วยเอชไอวีอยู่ใกล้เขาก็จะไม่อยากคุยด้วย ไม่อยากเข้าไปใกล้ชิด ไม่อยากมีปฏิสัมพันธ์ด้วยเลย” คุณพิเชฐ พรหมนารท ผู้ช่วยนักพัฒนาชุมชน พูดถึงสถานการณ์ตอนนั้นเป็นเสียงเดียวกันกับทุกคน และนั่นคือความจริงที่สังคมต้องเผชิญกับความท้าทายใหม่ที่ชื่อว่า “เอชไอวี/เอดส์”   สังคมแห่งการไม่ตีตรา น่าสนใจว่า จากวันที่เริ่มพบผู้ติดเชื้อและผู้เสียชีวิตในชุมชน ผู้นำและคนในชุมชนต่างมีการจัดการและรับมือกับเอชไอวีและเอดส์อย่างไร แน่นอนว่าการจะปรับเปลี่ยนความคิดและทัศนคติของคนในชุมชนเป็นเรื่องยากและต้องใช้เวลาพอสมควร แต่เมื่อมีการสื่อสารข้อมูลที่ถูกต้องมากขึ้น ๆ อย่างต่อเนื่องเป็นระยะเวลานานหลายปี ทัศนคติของคนก็เริ่มเปลี่ยนแปลง เกิดเป็นความรู้ความเข้าใจ เกิดการยอมรับ เห็นอกเห็นใจและให้โอกาสกัน   “แม่ไปอบรมแล้วก็กลับมาคุยให้ทุกคนฟังว่าเอชไอวีมันไม่ได้ติดกันง่าย ๆ ไปหากันคบกันได้ พอรู้แล้วเราก็รับกันได้ในชุมชน เดี๋ยวนี้เขาก็อยู่ร่วมกันกับเราได้ ก็ธรรมดา คนที่เป็นโรคอื่นก็อาจจะตายไวกว่าโรคเอดส์” คุณแม่นงนุช สีเทา อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน (อสม.) บ้านโคกน้อย เล่าถึงจุดเปลี่ยนของตัวเองและชุมชนที่นำไปสู่การไม่ตีตรา “แม่เป็น อสม. รับรู้เรื่องเอชไอวีจากคุณหมอ โรคนี้ถ้าผู้ป่วยมีการเข้ารับการรักษา เราก็สามารถพูดคุยกับเขาได้ ไปกินข้าวกินน้ำ ไปเยี่ยมเขาได้ ไม่กลัวเอดส์เลย” คุณแม่พิมลศรี ทำสิมมา อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน (อสม.) บ้านโคกน้อย เล่าไปพรางทิ้งท้ายด้วยเสียงหัวเราะ “อสม. ก็กระจายข่าวประชาสัมพันธ์ว่าโรคนี้สามารถรักษาได้ ไม่ต้องกลัว และก็ไม่ได้ติดกันง่าย ๆ ทุกวันนี้ครอบครัวเขาก็อยู่ด้วยกัน ทานข้าวด้วยกัน ทำงานและใช้ชีวิตร่วมกันได้ตามปกติ” คุณปุณยวีย์ ฤาชา ผู้ใหญ่บ้าน บ้านโคกน้อย หมู่ 4 คิดว่าปัจจุบันเกิดเปลี่ยนแปลงไปมาก จากตอนนั้นถ้าใครเป็นแล้วต้องแยกห้องอยู่คนเดียว ใช้ชีวิตเพียงคนเดียวไป “เขาเป็นเราก็ไม่ได้ติดจากเขาง่าย ๆ หรอก สามารถใช้ชีวิตร่วมกันได้ ให้กำลังใจกันได้ ถ้าเราไปรังเกียจเขา เขาก็จะไม่มีกำลังใจต่อสู้กับโรคของเขา ก็เลยเป็นปกติแล้วทุกวันนี้ คนเป็นไม่เป็นก็อยู่ร่วมกันได้” คุณผ่องศรี โพโน อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน (อสม.)...

AHF TaLks : HON House บ้านที่มอบชีวิตใหม่ให้ผู้ด้อยโอกาส

AHF TaLks : HON House บ้านที่มอบชีวิตใหม่ให้ผู้ด้อยโอกาส

AHF TaLks: January 2024 Title: HON House บ้านที่มอบชีวิตใหม่ให้ผู้ด้อยโอกาส Written By: Komon Sapkunchorn   “คนที่อยากทำงานด้านแคร์แอนด์ซัพพอร์ตต้องทำให้สุด ไม่ใช่แค่เรื่องของการส่งเข้าสู่กระบวนการรักษาแล้วจบ เพราะชีวิตคนมันไม่จบง่ายขนาดนั้น ต้องช่วยให้เขาเห็นคุณค่าของการมีชีวิตอยู่และดูแลตัวเองได้” เมื่อพูดถึงสิทธิขั้นพื้นฐานที่มนุษย์ทุกคนบนโลกนี้สามารถเข้าถึงได้หรือที่เรียกว่า “สิทธิมนุษยชน” ก็จะประกอบไปด้วยสิทธิตามธรรมชาติและสิทธิตามกฎหมาย ทุกคนมีความเท่าเทียมกัน มีศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ มีเสรีภาพ และความเสมอภาค สิทธิดังกล่าวรวมถึงสิทธิการเข้าถึงการรักษาพยาบาล เชื่อว่า..เกือบทุกคนรู้ว่าตนเองมีสิทธิประเภทใด แต่ก็มีอีกหลายคนที่ไม่รู้เรื่องนี้.. เพราะคิดว่าถ้าไปโรงพยาบาลจะต้องมีค่ารักษาพยาบาลหรือค่ายาที่แพง พอเจ็บป่วยจึงไม่อยากไปรักษา… และมีอีกหลายคนที่รู้ว่าตนเองมีสิทธิบัตรการรักษา แต่ก็ไม่มีแม้กระทั่งค่ารถเพื่อเดินทางไปโรงพยาบาล…   AHF Thailand มีโอกาสได้พูดคุยกับ คุณทฤษฎี สว่างยิ่ง ผู้อำนวยการเครือข่ายสุขภาพและโอกาส (HON House) องค์กรชุมชนที่ทำงานเพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตของประชากรในพื้นที่เมืองพัทยามากว่า 16 ปี เมืองท่องเที่ยวขนาดใหญ่ที่เต็มไปด้วยประชากรที่หลากหลายทั้งคนไทยและคนต่างชาติ มีเรื่องราวที่น่าสนใจ ประทับใจ และเป็นแรงบันดาลใจในการสนทนาครั้งนี้ “HON: Health and Opportunity Network (เครือข่ายสุขภาพและโอกาส) เป็นองค์กรเอกชนที่ทำงานด้านแคร์แอนด์ซัพพอร์ต (Care and Support) ก่อตั้งเมื่อปี พ.ศ. 2551 ดูแลสุขภาพและสร้างโอกาสให้แก่ผู้ที่มีข้อจำกัดหรือด้อยโอกาสได้เข้าถึงบริการด้านสุขภาพ เริ่มต้นภารกิจหลักด้วยการดูแลผู้อยู่ร่วมกับเชื้อเอชไอวีที่ยังไม่สามารถเข้าถึงบริการด้านสุขภาพ โดยเน้นกลุ่มประชากรที่มีความหลากหลายทางเพศ ปัจจุบันเพิ่มมิติการทำงานออกไปอีกหลายด้าน เช่น เป็นที่ปรึกษาด้านกฎหมาย การจัดอบรมให้ความรู้เรื่องอนามัยเจริญพันธุ์ การตีตราและการเลือกปฏิบัติ และยาเสพติด ในอนาคตมีแผนจะเปิดให้บริการตรวจเอชไอวีด้วย” พี่ทิดเกริ่นถึงภารกิจของ HON สั้น ๆ เมืองพัทยากับความท้าท้ายในการทำงาน “พัทยาเป็นเมืองท่องเที่ยวที่มีความหลากหลายของประชากรมาก ไม่ว่าจะเป็นเชื้อชาติ ภาษา และความหลากหลายทางเพศ หลายธุรกิจที่นี่เป็นสถานบันเทิงและธุรกิจขายบริการทางเพศ ในอดีตผู้คนจากทั่วทุกสารทิศต่างมุ่งหน้าเข้ามาหางานทำเพื่อส่งเงินกลับไปเลี้ยงคนที่บ้าน อาจจะเรียกว่ามา “ตกทอง” ก็ได้ สมัยนั้นพัทยาเปรียบดั่งเมืองซิวิไลซ์ มีงานมีอาชีพให้ทำมากมาย เป็นสวรรค์ของกลุ่มคนที่มีความหลากหลายทางเพศได้มาใช้ชีวิตอย่างอิสระ ได้แสดงออกถึงตัวตนที่แท้จริง แต่สิ่งที่ตามมาและไม่อาจปฏิเสธได้ก็คือ พบการติดเชื้อเอชไอวีสูงในพื้นที่นี้” พี่ทิดย้อนเวลากลับไปเพื่อเล่าให้เห็นภาพพัทยาในขณะนั้น ทำงานกับสาวประเภทสองและเกย์ “เราทำงานกับกลุ่มน้อง ๆ สาวประเภทสองและเกย์ ซึ่งเป็นกลุ่มที่พบได้มากในพัทยา และองค์กรเราก็เข้ามาแก้ปัญหาได้ตรงจุด คิดว่างานด้านแคร์แอนด์ซัพพอร์ต (Care and Support) มันมีสเน่ห์ ทำให้เราได้เรียนรู้ตลอดเวลากับวิถีชีวิตของเคส เช่น การที่ทีมลงไปทำงานที่โรงพยาบาลก็จะเจอเคสที่มีปัญหาไม่เหมือนกัน ก็จะกลับมาแชร์กัน และช่วยกันคิดหาวิธีหรือแนวทางในการช่วยเหลือ กระบวนการแก้ไขปัญหาเคสต่อเคสที่ต้องอาศัยความรวดเร็ว สิ่งเหล่านี้มันทำให้เราเติบโตไปกับงานที่เราทำ” เคสหญิงไร้บ้าน ยากที่สุดในการช่วยเหลือ “คือ เคสนี้เป็นหญิงไร้บ้าน อาสาสมัครของเราไปเจอเธออาศัยอยู่ใต้สะพานที่ข้ามไปแหลมบาลีฮาย ช่วงนั้นโควิดกำลังระบาดด้วย พอทีมเราลงพื้นที่ไปถึง ดูเหมือนเธอจะมีอาการป่วยทางจิตที่เป็นผลมาจากการใช้สารเสพติด เพราะชอบพูดคนเดียว บางทีก็คุยกับเสาไฟฟ้า ประเมินจากภายนอกแล้วน่าจะเป็นผู้อยู่ร่วมกับเชื้อเอชไอวีด้วยเพราะเริ่มมีอาการป่วยบางอย่าง พอได้พูดคุยกันก็รู้ว่าเธอเพิ่งออกจากเรือนจำมาอาศัยอยู่แถวนี้ แล้วก็ขายบริการแบบอิสระด้วย ที่สำคัญเธอไม่มีบัตรประชาชน จึงไม่รู้ว่าเธอเป็นใครมาจากไหน เคสนี้จึงเป็นเคสที่ยากมาก ๆ ถึงมากที่สุดที่เราเคยเจอมา” แค่เริ่มเรื่องก็เต็มไปด้วยข้อจำกัดมากมาย เราคิดไม่ออกเลยว่าทีม HON จะเริ่มช่วยเหลือเคสนี้ที่จุดไหนก่อน..   “สิ่งเดียวที่เธอมีติดตัวคือใบประวัติจากโรงพักคล้ายรูปถ่ายผู้ต้องหาที่ถูกดำเนินคดี พูดหรือสื่อสารได้ยาก เราทำงานกับเคสนี้เป็นปี จุดประสงค์ไม่ใช่แค่พยายามให้เธอได้เข้าสู่ระบบการรักษาเท่านั้น แต่เรายังช่วยให้เธอได้มีบัตรประชาชนเพราะเป็นสิ่งแรกที่จะทำให้เธอมีสิทธิในการรับการรักษาได้ เราจึงเริ่มจากจุดแรกด้วยการสืบหาญาติ ก็ค่อย ๆ ถามไป เพราะเธอจะเล่าได้เป็นท่อนสั้น ๆ จึงรู้ว่าเคยมีญาติอยู่ที่อำเภอพานทอง เลยรวบรวมเอกสารทั้งหมดที่มีเพื่อไปทำบัตรประชาชน พอไปถึงเจ้าหน้าที่แจ้งว่าทำให้ไม่ได้เพราะเอกสารที่มีไม่สามารถระบุตัวตนได้” ค้นทะเบียนราษฏร์เพื่อทำบัตรประชาชน “เราจึงไปขอความช่วยเหลือจากฝ่ายสวัสดิการสังคมเมืองพัทยา เพื่อขอความอนุเคราะห์เจ้าหน้าที่ให้ช่วยค้นหาเอกสารทะเบียนราษฏร์ โชคดีที่เอกสารจากโรงพักมีเลข 13 หลักติดอยู่ด้วย ทำให้สามารถยืนยันได้ว่าเธอเป็นคนไทยแน่นอน ต่อมาก็พบข้อมูลว่าเธอมีภูมิลำเนาอยู่ที่ไหน และเคยมีสิทธิรักษาอยู่ที่โรงพยาบาลแห่งหนึ่งในจังหวัดชลบุรี ขณะที่เธอก็เริ่มมีอาการป่วยมากขึ้นเรื่อย ๆ เลยให้น้องในทีมไปช่วยประสานในการคัดทะเบียนราษฎร์ที่อำเภอ พร้อมทั้งเตรียมเอกสารของ HON ไปยื่นด้วยเพื่อรับรองว่าเราทำงานด้านนี้จริงและกำลังให้การช่วยเหลือคนนี้ให้เข้าสู่ระบบการรักษาจริง ๆ ในที่สุดเธอก็ได้บัตรประชาชน” พี่ทิดทิ้งท้ายว่า สิ่งที่กังวลต่อจากนั้นเรื่องแรก คือ บัตรประชาชนจะหายอีกมั้ยถ้ากลับไปอยู่อาศัยที่เดิม เรื่องที่สอง คือ เธอยังไม่ยอมเข้าสู่ระบบการรักษา “เราพยายามพูดคุยเพื่อให้ข้อมูล สร้างความเข้าใจและไว้วางใจไปเรื่อย ๆ สักระยะหนึ่งจนเธอตัดสินใจเข้ารับการรักษา รวมเวลาเกือบ 1 ปี นับตั้งแต่ช่วงที่ไปเจอ ผ่านช่วงโควิด จนถึงวันที่ได้บัตรประชาชน ได้ยากิน สิ่งที่สำคัญต่อจากนั้น คือ แล้วเธอจะกินยาได้มั้ย ตรงเวลามั้ย และจะเก็บยาที่ไหน” พี่ทิดพูดพร้อมรอยยิ้มและเสียงหัวเราะอย่างเอ็นดูกับเคสนี้ ซึ่งเรารับรู้ได้ว่า HON ไม่ได้ทำเพียงเพราะมันเป็นแค่หน้าที่ แต่พวกเขาทำด้วยแพชชั่นที่ต้องการพัฒนาคุณภาพชีวิตของคน ๆ นึงให้ดีขึ้นและช่วยเหลือตัวเองได้จริง ๆ นั่นคือสิ่งที่พวกเขายึดมั่นในการทำงานเสมอมา “เราจึงใช้ระบบเดียวกับที่อาสาสมัครของเราไปดูแลเคสอื่น ๆ คือ ช่วงแรกเอายาไปให้เธอกินทุกวัน และนั่งดูด้วยว่ากินจริงมั้ย...

AHF TaLks : คำตอบสุดท้าย…ว่าเราควรมีชีวิตอยู่เพื่อใคร

AHF TaLks : คำตอบสุดท้าย…ว่าเราควรมีชีวิตอยู่เพื่อใคร

“การตรวจเจอเอชไอวี ไม่ใช่การตรวจเพื่อหยุด   แต่เป็นการตรวจเพื่อไปต่อ แล้วสามารถใช้ชีวิตได้อย่างปกติสุข”   นี่ไม่ใช่คำพูดที่แต่งเติมให้สวยหรู หรือประดิดประดอยขึ้นมาเพื่อสร้างภาพ แต่มันคือคำพูดที่กลั่นออกมาจากใจของคนที่ได้ชื่อว่า “พยาบาล” ในฐานะผู้ให้บริการแก่คนไข้หรือผู้รับบริการ ที่มีความมุ่งหวังให้คนไข้ทุกคนได้รับการรักษาอย่างดีที่สุดเท่าที่เธอจะทำได้ และที่สำคัญไปกว่านั้น เธอเป็นหัวหน้างานควบคุมโรค และรับผิดชอบงานเอชไอวี/เอดส์ (HIV Co) ด้วย ซึ่งดูเหมือนเป็นตำแหน่งงานที่มีคนสนใจไม่มากนัก “แต่ทุกโรงพยาบาลต้องมี” มาถึงตอนนี้ท่านผู้อ่านน่าจะอยากรู้กันแล้ว ว่าทำไมเธอจึงเลือกทำงานนี้ งานที่ท้าทาย และต้องมีความรับผิดชอบสูงกว่าที่หลายคนคิด AHF TaLks ฉบับนี้ มีโอกาสได้พูดคุยกับ “เอชไอวีโค” หรือ ผู้ประสานงานด้านเอชไอวีของโรงพยาบาลบ้านบึง จังหวัดชลบุรี คุณฟ้า พรทิพย์ แซ่ลิ้ม พยาบาลวิชาชีพชำนาญการ หญิงแกร่งแห่งวงการเอชไอวีอีกท่านหนึ่ง ที่มีจิตวิญญาณของการเป็นผู้ให้ ผู้ที่คิดอยู่เสมอว่าจะทำอย่างไรให้คนไข้ทุกคนได้เข้าถึงการรักษา มีเรื่องราวน่าสนใจและมีคุณค่ามากมายเกิดขึ้นที่นี่ และเราจะขออนุญาตเรียกเธอว่า “พี่ฟ้า” เหมือนที่คนไข้เรียก โรงพยาบาลบ้านบึง มีคนไข้เอชไอวีที่อยู่ในการดูแลเกือบ 800 คน แบ่งออกเป็นประชาชนทั่วไปและผู้ต้องขังเรือนจำกลางจังหวัดชลบุรี ซึ่งในภาพรวมจะมีจำนวณคนไข้เอชไอวีสูงกว่าโรงพยาบาลทั่วไป โดยมีภารกิจหลักในการดูแลรักษาคนไข้ที่มีผลเลือดเป็นบวกให้เข้าสู่กระบวนการรักษา “คลินิกเอชไอวีจะเปิดให้บริการสัปดาห์ละหนึ่งวัน แต่สามารถให้คำปรึกษาได้ทุกวัน ซึ่งปกติจะมีคนไข้เข้ามาขอรับคำปรึกษาเกี่ยวกับเรื่องของโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ทุก ๆ วันอยู่แล้ว ส่วนในแต่ละวอร์ดของโรงพยาบาล หากตรวจพบคนไข้ติดเชื้อเอชไอวี ก็จะส่งเข้ามาที่คลินิกเอชไอวีได้ทุกวัน โดยจะนัดให้พบคุณหมอก่อนที่จะเริ่มการรักษา” พี่ฟ้าเกริ่นให้ฟังถึงภารกิจหลัก   ปัญหาส่วนใหญ่ของคนไข้เอชไอวี “พี่คิดว่าในแต่ละพื้นที่จะมีปัญหาไม่แตกต่างกันมากนัก เช่น เรื่องสิทธิการรักษา ค่าใช้จ่ายในการรักษา รวมไปถึงค่าเดินทางมาโรงพยาบาล ประกอบกับในพื้นที่ของเราเป็นเขตอุตสาหกรรม คนไข้ของโรงพยาบาลบ้านบึงจึงเป็นกลุ่มแรงงานเพื่อนบ้านจำนวนมาก ซึ่งมีโอกาสในการเข้าถึงสิทธิรักษาได้น้อยมาก เมื่อตรวจพบเชื้อเอชไอวีแล้วจะเป็นกลุ่มที่ยากลำบากที่สุดในการเข้าสู่กระบวนการรักษา เริ่มจากเวชภัณฑ์ต่าง ๆ ที่มีราคาสูงเมื่อเทียบกับรายได้ของเขา เรื่องนี้จึงเป็นปัจจัยที่ส่งผลกระทบต่อการรักษาที่ต่อเนื่อง” “ส่วนปัญหาของคนไข้กลุ่มประชาชนทั่วไปจะอยู่ในช่วงเริ่มและหลังการรักษา ตลอดจนการคงอยู่ในระบบ สาเหตุหลัก คือ ต้องทำงาน ไม่สะดวกมารักษา หลายรายเป็นคนนอกพื้นที่ ซึ่งในกรณีนี้ บางรายยังไม่มีสิทธิการรักษาเพราะเพิ่งมาเริ่มงาน บริษัทยังไม่สามารถขึ้นสิทธิประกันสังคมให้ ทำให้มี อัตราคนไข้ที่ขาดการติดตาม (Lost to follow up) เกิดขึ้นบ้างในช่วงจังหวะของการเปลี่ยนผ่าน ก็จะทำให้คนไข้ได้เริ่มยาช้าลง” พี่ฟ้ามีสีหน้าและแววตาที่กังวลเมื่อพูดถึงคนไข้กลุ่มนี้   จะเห็นได้ว่าโรงพยาบาลบ้านบึงและโรงพยาบาลอีกหลายแห่งประสบปัญหาใกล้เคียงกัน ซึ่งแม้จะเป็นช่องว่างสำคัญที่ผู้ให้บริการหน้างานมักพบเจอ แต่ก็ไม่ได้ทำให้ความพยายามในการหาทางช่วยเหลือคนไข้เหล่านี้ลดลง บางครั้งพี่ฟ้าต้องควักกระเป๋าตัวเองจ่ายค่าเดินทางให้คนไข้ แต่หลัง ๆ มีคนไข้กรณีนี้มากขึ้นจนไม่สามารถช่วยได้ทุกราย “ช่วงแรกที่ AHF ติดต่อเข้ามาก็ไม่รู้ว่าองค์กรนี้ทำงานเกี่ยวกับอะไร ตอนนั้นพี่เพิ่งจะเข้ามารับผิดชอบงานเอชไอวีได้เพียง 2 ปี เลยไปสอบถามพี่เอชไอวีโคคนเก่าเขาก็บอกว่าไม่รู้จัก เพราะปกติจะทำงานตอบโจทย์ตัวชี้วัดของจังหวัดเท่านั้น เราก็เลยสงสัยว่าเป็นมูลนิธิอะไร จึงเปิดโอกาสให้เข้ามาคุย พอได้ฟังแล้วเหมือนจะเป็นประโยชน์กับคนไข้และผู้รับบริการ ดูแล้วน่าจะช่วยสนับสนุนการทำงานของคลินิกเอชไอวีได้” พี่ฟ้าเริ่มเห็นโอกาสในการช่วยคนไข้ที่ดูแลอยู่ได้มากขึ้น   ทีมจิตอาสา กำลังหนุนสำคัญ “ปกติแล้วพี่ไม่ได้ทำงานคนเดียว มีทีมอาสาสมัครที่เป็นผู้อยู่ร่วมกับเชื้อเอชไอวีมาช่วยสนับสนุนงานของคลินิก ไม่ว่าจะเป็นงานติดตาม ให้ความรู้ ให้คำปรึกษา ซึ่งเดิมทีเราไม่มีค่าตอบแทนให้เขาเลย เขาต้องเสียสละหยุดงาน 1 วันต่อสัปดาห์เพื่อมาช่วยงานที่คลินิก นอกจากนี้ ยังทำหน้าที่ลงพื้นที่เยี่ยมบ้านคนไข้ที่หายไป หรือไม่มาตามนัด ถ้าจะอาศัยทีมของโรงพยาบาลอย่างเดียวคงไม่สามารถติดตามได้ทั่วถึงแน่ ๆ ตอนนั้นคิดว่าหาก AHF สามารถสนับสนุนค่าตอบแทนให้กับพี่ ๆ น้อง ๆ อาสาเหล่านี้ได้บ้าง ก็จะทำให้เขาอยู่ช่วยงานคลินิกได้นานขึ้น เพราะเขาช่วยเราได้มาก และนั่นจะทำให้ปัญหาคนไข้ที่ขาดการติดตามการรักษา (Lost to follow up) ลดน้อยลง” พี่ฟ้าเริ่มมีรอยยิ้ม   เริ่มเห็นการเปลี่ยนแปลง “หลังจากที่ AHF ได้เข้ามาช่วยสนับสนุนงานของคลินิก สิ่งแรกที่เห็นได้ชัดเจนก็คือ คนไข้ขาดนัดน้อยลงและเริ่มยาได้เร็วขึ้น เพราะภารกิจหลักของเราคือ ต้องการให้คนไข้เริ่มยาได้เร็วที่สุดหลังจากทราบผลเลือด ยกตัวอย่าง เช่น คนไข้บางรายที่ยังไม่ได้รับการอนุมัติสิทธิการรักษา แต่จ่ายค่าตรวจเลือดไปหมดแล้ว ไม่รู้ว่าจะเริ่มยาได้ยังไง เพราะยาก็ราคาเม็ดละ 30 บาท เราก็บอกคนไข้ว่า ไม่มีปัญหา เราจะเริ่มยาให้ แล้วไปจัดการสิทธิของตัวเองให้เรียบร้อย โดยใช้งบประมาณจาก AHF ช่วยเหลือเขาไปก่อนในครั้งแรก ๆ ก็รู้สึกว่ายอดการทำโครงการ Same Day ART มันเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ ตามตัวชี้วัดเลย” พี่ฟ้ายิ้มมากกว่าครั้งแรก นอกจากกรณีแรกแล้ว คนไข้เอชไอวีในเรือนจำก็ได้รับประโยชน์เช่นกัน บางรายต้องโทษจากที่อื่นและถูกส่งเข้ามาที่เรือนจำ ทำให้สิทธิการรักษาจะยังไม่ย้ายตามมาทันทีในช่วงแรก จึงทำให้กลายเป็นคนไข้ไร้สิทธิโดยอัตโนมัติ “เดิมทีทางโรงพยาบาลจะเป็นผู้รับผิดชอบค่าใช้จ่ายส่วนนี้เองทั้งหมด แต่พอ AHF เข้ามาสนับสนุน เราก็สามารถนำงบประมาณตรงนี้มาช่วยแบ่งเบาภาระของโรงพยาบาล เช่น ค่าตรวจรักษาและค่ายา ดังนั้น หากตรวจพบว่าคนไหนมีเชื้อเราก็จะให้เริ่มยาทันที เพราะการอาศัยอยู่ในสถานที่ปิดในเรือนจำอาจเสี่ยงต่อการแพร่เชื้อได้ง่าย” นี่คือสิ่งที่พี่ฟ้าเน้นย้ำเสมอว่า ทำยังไงก็ได้ให้คนไข้ในเรือนจำได้เริ่มยาเร็วที่สุด   ทำไมถึงเลือกทำงานเอชไอวี ?...

ข้อมูล ณ เดือนธันวาคม 2563

0 คนที่ได้รับการตรวจ
0 คนไข้ภายใต้การสนับสนุน
0 จำนวนถุงยางอนามัยที่แจก
0 หน่วยงานภายใต้การสนับสนุน

ติดต่อเจ้าหน้าที่เพื่อปรึกษา 064 598 6112