“How to Download and Use AutoCAD 2009 Full Crack for Free Access to All Features”

Download Autocad 2009 is a powerful and widely used software for 2D and 3D design, drafting, and modeling. While the full version of the program offers robust tools and features for professionals in architecture, engineering, and construction, many users seek alternative ways to access the software without purchasing it. One of the most common methods is through a full crack of Autocad 2009, which allows individuals to bypass licensing requirements. However, obtaining Autocad 2009 through cracked versions raises several important concerns. While it may seem like an easy solution for those on a tight budget, it’s essential to consider the risks and implications involved in using pirated software. Aside from legal issues, cracked versions often come with hidden dangers such as malware and system instability. This article will explore the advantages, disadvantages, and potential risks associated with downloading and using Autocad 2009 full crack. It’s also worth mentioning that although cracked software might offer immediate access, legitimate alternatives for obtaining Autocad, such as discounted student versions or subscription models, can provide safer and more reliable options in the long run. Understanding these choices can help users make more informed decisions about how to acquire the software legally and securely. htmlCopy...

How to Download and Install Filmora Crack for PC Safely and Effectively

Download Many users are looking for a Filmora crack download for PC to access premium video editing features without paying for a subscription. While cracked software may seem like an appealing option, it comes with several risks and legal issues that need to be considered before proceeding. Filmora is a popular video editing tool known for its user-friendly interface and powerful features. However, obtaining the software through unofficial means, such as downloading a crack, can expose your PC to malware, viruses, and other security threats. Additionally, using cracked software is illegal in many countries and can lead to serious consequences. In this article, we will discuss the potential risks and provide alternatives to using a Filmora crack. We also compare the cracked version with the official release to help you make an informed decision about your video editing needs. Filmora Crack Download for PC: Is It Safe? Downloading a Filmora crack for PC may seem like a convenient way to get the software for free, but it comes with serious security concerns. Cracked versions of software are often modified to bypass licensing, and these modifications can introduce vulnerabilities that put your computer at risk. One of the biggest risks associated...

Exploring the Latest Insights on Iobit Driver Booster Pro Crack for 2022 and Its Impact on Performance

Download The demand for efficient driver management tools has surged, and Iobit Driver Booster Pro stands out as a leading solution. However, the quest for a cracked version often tempts users seeking ultimate performance without financial commitment. In 2022, discussions surrounding Driver Booster Pro crack have intensified, delving into the potential risks and rewards. While accessing the software for free may seem appealing, it’s crucial to consider the implications on system security and software integrity. This article aims to provide a comprehensive overview of the cracked version, exploring its features, advantages, and potential drawbacks. As we navigate through the intricacies of this software, the ultimate goal is to inform users about the best practices for maintaining their system drivers safely. Ultimate Guide to Iobit Driver Booster Pro Crack 2022 The Iobit Driver Booster Pro Crack 2022 is a tool that claims to optimize driver performance and enhance system stability. While it offers features like automatic updates and driver backups, using a cracked version can pose significant risks, including malware and legal issues. To delve deeper into this topic, it’s crucial to weigh the potential benefits against these dangers. For those looking for a reliable solution, consider alternatives that provide safe,...

AHF TaLks : “พยาบาล” ผู้ให้ ผู้เสียสละ เพื่อเพื่อนมนุษย์

AHF TaLks : “พยาบาล” ผู้ให้ ผู้เสียสละ เพื่อเพื่อนมนุษย์

AHF TaLks: May 2024 Title: “พยาบาล” ผู้ให้ ผู้เสียสละ เพื่อเพื่อนมนุษย์ Written By: Komon Sapkunchorn “คนไข้คนหนึ่งวิ่งเข้ามากอดแล้วพูดว่า “ถ้าวันนั้นหนูไม่ได้เจอพี่ หนูคงตายไปแล้ว”  มันเป็นพลังใจสำคัญที่ทำให้เรายังทำงานอยู่ตรงนี้ เพราะเรามีโอกาสได้ช่วยใครอีกหลายคน”   ในโลกนี้มีงานและอาชีพนับร้อย มีหลายอาชีพที่มุ่งเน้นในเชิงธุรกิจ รายได้ และผลประกอบการ แต่ก็มีอีกหลายอาชีพที่ต้องอาศัยจิตวิญญาณในการอุทิศตนเพื่อช่วยเหลือคนอื่น เช่น บุคลากรทางการแพทย์ เป็นต้น ในบทความนี้เราจะขอถ่ายทอดเรื่องราวของอาชีพ “พยาบาล” อาชีพที่เกิดมาเพื่อดูแลและให้ความช่วยเหลือแก่เพื่อนมนุษย์ วันที่ 12 พฤษภาคมของทุกปี เป็น “วันพยาบาลสากล” หรือ International Nurses Day ซึ่งจุดเริ่มต้นของวันพยาบาลสากลนั้นมาจากวันเกิดของมิสฟลอเรนซ์ ไนติงเกล ผู้ก่อกำเนิดวิชาชีพพยาบาลที่มีอุดมการณ์อันแน่วแน่ที่จะบำเพ็ญประโยชน์เพื่อมวลมนุษย์ จนได้รับการยกย่องไปทั่วโลก โดยในปี 2567 นี้ สภาพยาบาลระหว่างประเทศได้กำหนดคำขวัญวันพยาบาลสากลไว้ว่า “Our Nurses. Our Future. The economic power of care. พยาบาล คือ อนาคต และอำนาจทางเศรษฐกิจของระบบสุขภาพ”   AHF Thailand จึงขอนำอีกหนึ่งเรื่องราวของผู้ที่ทำหน้าที่ตรงนี้มาถ่ายทอดเพื่อให้ทุกท่านได้เห็นถึงความสำคัญของวิชาชีพพยาบาล งานที่ต้องมีใจรัก ความเสียสละ และความทุ่มเท เป็นการทำงานช่วยเหลือเพื่อนมนุษย์ที่ควรค่าแก่การยกย่องเป็นอย่างมาก ผมมีโอกาสได้พูดคุยและสัมภาษณ์พี่พยาบาลหลายท่าน ซึ่งไม่น่าเชื่อว่า ทุกท่านมีแรงบันดาลใจในการทำงานที่คล้ายคลึงกัน คือ “มีความสุขที่ได้ช่วยเหลือคน” นี่คือคำตอบที่คนฟังอย่างผมรู้สึกตื้นตันและอิ่มเอมใจทุกครั้งอย่างบอกไม่ถูก มันเหมือนได้รับพลังบวกจากการพูดคุยกับพี่ ๆ พยาบาลเสมอ พี่หน่อง ทวารัตน์ โคตรภูเวียง พยาบาลวิชาชีพชำนาญการ โรงพยาบาลขอนแก่น ได้พูดไว้ในช่วงหนึ่งของการสัมภาษณ์ เป็นคำง่าย ๆ ที่ออกมาจากใจของคนทำงาน แม้ว่าเวลาจะผ่านไปนานแค่ไหน แต่อุดมการณ์ของพี่หน่องไม่เคยเปลี่ยนไปเลย พี่หน่องมีความสุขทุกวันที่ได้มาทำงาน การได้ช่วยเหลือคนเป็นเหมือนการได้เติมพลังให้ชีวิต ทำให้มองโลกนี้เป็นบวกเสมอ “คนไข้คนหนึ่งวิ่งเข้ามากอดแล้วพูดว่า “ถ้าวันนั้นหนูไม่ได้เจอพี่ หนูคงตายไปแล้ว” มันเป็นพลังใจสำคัญที่ทำให้เรายังทำงานอยู่ตรงนี้  เพราะเรามีโอกาสได้ช่วยใครอีกหลายคน” งานที่เราทำมันเหมือนแสงสว่างที่ปลายอุโมงค์ คนไข้หลายคนจากนอนมา โทรม ๆ เกือบปางตายมา พอเราช่วยให้เขาได้รับการรักษาประมาณหกเดือนถึงหนึ่งปี เขาก็จะเริ่มเดินได้ ทำให้เราและทีมมีกำลังใจ พี่เคยถามน้องผู้ชายคนนึงเวลาที่เขามาตามนัด ก็ถามว่าอาการเป็นอย่างไรบ้าง มีอะไรจะเล่าให้พี่ฟังมั้ย เขาตอบว่า “ผมลืมไปแล้วว่ามีเชื้อในร่างกาย ทุกวันนี้ผมเป็นหัวหน้าครอบครัว และยังทำงานได้ปกติ” เราจะเดินทางต่อไปยังโรงพยาบาลอุดรธานี อีกหนึ่งสถานพยาบาลเครือข่ายของ AHF ในภาคอีสานกันครับ ที่นี่เป็นอีกหนึ่งทีมที่มีความโดดเด่นในเรื่องของการป้องกันและดูแลรักษาด้านเอชไอวีในกลุ่มชายที่มีเพศสัมพันธ์กับชาย (MSM) นำโดย พี่แป๋ม ประภาภรณ์ กิจวัฒนาชัย พยาบาลวิชาชีพชำนาญการสุดสตรองที่รับผิดชอบด้านเอชไอวีและหัวหน้านภาคลินิก โรงพยาบาลอุดรธานี ที่ให้ความสำคัญและยึดเอาผลประโยชน์ของผู้รับบริการหรือคนไข้เป็นที่ตั้งเช่นเดียวกันกับพี่หน่อง “หลายคนแปลกใจและสงสัยว่าทำไมพี่ถึงไม่เบื่องานนี้ เพราะคิดว่างานน่าจะหนัก พี่อยากจะบอกว่า พี่มีความสุขในทุก ๆ วันที่ตื่นมาทำงาน มันคือความอิ่มใจ เวลาที่เราได้ช่วยเหลือคนเหล่านี้ รู้สึกภูมิใจในตัวเองโดยไม่จำเป็นต้องไปบอกใคร” “พี่แป๋มยังเล่าต่อว่า การช่วยคนไม่จำเป็นว่าเขาจะต้องรวยหรือจน แต่เราช่วยคนที่เขากำลังต้องการความช่วยเหลือ ต้องการที่พึ่งทั้งทางกายและทางใจ คนไข้พี่มีทุกอาชีพ หลายคนจบการศึกษาสูง หลายคนเป็นบุคลากรทางการแพทย์ เวลาเราช่วยเคสไหนสำเร็จมันจะรู้สึกภูมิใจ” การให้ความช่วยเหลือที่ไม่เลือกปฏิบัติไม่ว่าคนเหล่านั้นจะเป็นใคร หรือมีอาชีพใดก็ตาม นี่คือจิตวิญญาณของคนที่เรียกตัวเองว่า “พยาบาล” เป็นความภาคภูมิใจที่ยิ่งใหญ่ และเติมพลังใจให้ชีวิตพวกเขาได้ดีจริง ๆ ต่อไปขอข้ามไปยังภาคตะวันออก ที่โรงพยาบาลสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ กรมแพทย์ทหารเรือ อำเภอสัตหีบ จังหวัดชลบุรีกันบ้าง พี่ปิง นาวาโทหญิง นวรัตน์ ฉัตรอินทร์ พยาบาลฝ่ายบริการสุขภาพ “พยาบาลทหารเรือ” ที่มีหัวใจของผู้ให้บริการ และปฏิบัติต่อผู้รับบริการทุกคนอย่างเท่าเทียม “เราให้บริการทุกคนอย่างเท่าเทียมกัน ไม่ว่าเขาจะเป็นทหารหรือพลเรือน การที่คนไข้ได้รับเชื้ออาจเป็นเรื่องที่ไม่ได้ตั้งใจ และเราควรช่วยเขาให้ก้าวข้ามอุปสรรคนี้ พี่ถือว่าคนไข้ทุกคนเป็นครูที่จะสอนประสบการณ์ของแต่ละคนให้พี่ได้เรียนรู้ แค่ประสบการณ์ของคนไข้หนึ่งคนมันสามารถต่อยอดไปให้พี่ช่วยเหลือคนไข้ได้อีกหลายคน” พี่ปิงบอกว่าประโยชน์อีกข้อ คือ การได้ร่วมงานกับ AHF ทำให้ได้ข้อมูลที่ช่วยสะท้อนการให้บริการว่าเราให้บริการคนไข้ได้ดีแล้วหรือยัง เป็นการเช็คระบบการให้บริการว่าจุดใดที่ควรปรับปรุงหรือพัฒนาให้ดีขึ้น เพื่อให้ตอบโจทย์ภารกิจของทีมและองค์กร และนี่ก็คือมุมมองจากฝั่งภาคตะวันออกที่ทำให้รู้สึกมีความสุขเช่นเดียวกันกับสองโรงพยาบาลแรก ลำดับสุดท้ายจะขอพาลงภาคใต้ เพื่อไปฟังเรื่องราวของโรงพยาบาลพัทลุงกันครับ ผมมีโอกาสได้สัมภาษณ์ พี่ท่อน ปาจรีย์ หนูอินทร์ พยาบาลวิชาชีพชำนาญการพิเศษ หัวหน้างานให้การปรึกษาจากโรงพยาบาลพัทลุงแค่ช่วงเวลาสั้น ๆ ตอนที่ทีม AHF เดินทางลงไปโซนภาคใต้เพื่ออบรมการทำรายงานให้กับเจ้าหน้าที่ของโรงพยาบาล ซึ่งพี่ท่อนก็ได้แบ่งปันมุมมองและประสบการณ์ในการทำงานที่ให้ความสำคัญกับผู้รับบริการให้เราฟัง “คนไข้ที่เราดูแลอยู่ไม่ใช่ผู้ป่วย เขาคือคนที่มาตรวจสุขภาพ เราอยากให้คิดแบบนี้มากกว่า หากตรวจแล้วพบเชื้อก็สามารถรับยาต้านไวรัสภายในวันนั้นได้เลย สะดวกกับคนไข้มาก เพราะเขาคือคนสำคัญของเรา ดังนั้นเราจึงดูแลผู้รับบริการอย่างดีที่สุด” นี่คือ 4 เรื่องราวและจิตวิญญาณของคนที่อยู่ในวิชาชีพ “พยาบาล” อาชีพแห่งการเสียสละและทุ่มเท...

AHF TaLks : ธรรมดามหาศาล Normal is more

AHF TaLks : ธรรมดามหาศาล Normal is more

AHF TaLks: March 2024   “เอชไอวีรักษาได้ ไม่ต้องกลัว ทุกวันนี้สามารถอยู่ร่วมกัน ทานข้าวด้วยกัน ใช้ชีวิตร่วมกันได้ตามปกติ” คำพูดของผู้ใหญ่บ้านที่มีทั้งความจริงใจ เข้าใจง่าย เป็นตัวอย่างของการสื่อสารในชุมชนที่เกิดขึ้นสม่ำเสมอ จนเกิดเป็นความรู้ความเข้าใจว่าเอชไอวีไม่ได้ติดกันได้ง่าย ๆ และถึงแม้จะเป็นก็สามารถรักษาได้ ทำให้ปัจจุบันทุกคนในชุมชนใช้ชีวิตและอาศัยอยู่กับผู้อยู่ร่วมกับเชื้อเอชไอวีได้อย่างปกติ พูดคุยกัน กินข้าวกินน้ำร่วมกันได้ ไม่มีใครรังเกียจใคร เพราะเกิดจากความเข้าใจ เปิดใจยอมรับ และให้โอกาสผู้อยู่ร่วมกับเชื้อเอชไอวีได้มีสิทธิ มีศักดิ์ศรี และมีความเป็นมนุษย์อย่างเท่าเทียมกันนั่นเอง แต่กว่าจะมาถึงจุดนี้ก็ไม่ใช่เรื่องง่ายเช่นกัน.. จากวิถีชีวิตที่แสนเรียบง่ายและธรรมดาของผู้คนในแดนดินถิ่นอีสานในอดีต ต้องพบเจอกับสิ่งใหม่ที่ไม่เคยรู้จักมาก่อน ย่อมต้องเกิดเป็นความหวาดกลัวเป็นธรรมดา ความท้าทายใหม่เริ่มเกิดขึ้นในชุมชนเมื่อ “เอชไอวี” เข้ามาเป็นบททดสอบใหม่ในช่วงแรก ๆ ในยุคที่ผู้คนล้มตายจากโรคนี้ราวกับใบไม้ร่วง เกิดเป็นภาพจำฝังใจของคนในชุมชนที่ว่า “เอดส์ = เป็นแล้วตาย” AHF Thailand ขอทำหน้าที่กระบอกเสียงในการรณรงค์และส่งเสริมความสำคัญของ “วันยุติการเลือกปฏิบัติสากล” ซึ่งตรงกับวันที่ 1 มีนาคมที่ผ่านมา ผ่านเรื่องราวของความธรรมดาที่มีความหมายและคุณค่าต่อใครอีกหลายคนอย่างมากมาย ในสังคมของการไม่เลือกปฏิบัติต่อคนในชุมชน เรียนรู้จากอดีตและเติบโตสู่ปัจจุบันจนกลายเป็นชุมชนที่เข้มแข็ง มีความโอบอ้อมอารี ความเข้าอกเข้าใจ เป็นสังคมที่เรียบง่าย ธรรมดา ผู้นำชุมชน อาสาสมัคร และคนในชุมชนต่างมีส่วนช่วยขับเคลื่อนและพัฒนาชุมชนให้น่าอยู่   การตีตรา (Stigma) คืออะไร ? การตีตรานั้นเป็นเรื่องที่เกี่ยวข้องกับทัศนคติ ความคิด ความเชื่อ ที่มีต่อการกระทำหรือพฤติกรรมของบุคคลในสังคมที่มีพฤติกรรมแตกต่างไปจากบรรทัดฐานทางสังคม นำไปสู่การปฏิบัติที่แสดงถึงการรังเกียจ กีดกัน ทั้งทางสายตา คำพูด การกระทำ ทำให้บุคคลเหล่านั้นถูกแบ่งแยก ถูกจำกัดพื้นที่ทางสังคม หรือที่เราเรียกว่า การเลือกปฏิบัติ (Discrimination)   “เอดส์” บททดสอบใหม่ในชุมชน ช่วงแรกที่มีการตรวจพบผู้ติดเชื้อเอชไอวีในประเทศไทย เป็นช่วงที่คนในสังคมเกิดความหวาดระแวงสูง กลัวติดเชื้อ เกิดการตีตราและรังเกียจ ไม่อยากเข้าใกล้ผู้ติดเชื้อ บ้านโคกน้อย ตำบลพระลับ อำเภอเมือง จังหวัดขอนแก่น ก็เป็นพื้นที่หนึ่งที่ต้องเผชิญหน้ากับสถานการณ์นี้ “ถ้ามีเพื่อนในหมู่บ้านมาบอกว่าคนนี้น่าจะเป็นโรคเอดส์ ซึ่งตอนนั้นมีชื่อเสียงโด่งดัง ใครเห็นก็กลัว ก็น่าสงสารอยู่แต่ก็ไม่อยากเข้าใกล้” คุณแม่พิมลศรี ทำสิมมา อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน (อสม.) บ้านโคกน้อย เล่าถึงสถานการณ์เอชไอวีช่วงแรกที่เริ่มเข้ามาในชุมชน “คนจะไม่กล้าเข้าใกล้เลย แม้แต่เดินสวนกันก็ต้องเดินไกล ๆ ต้องกลัวไว้ก่อน” คุณแม่นงนุช สีเทา อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน (อสม.) บ้านโคกน้อย ยอมรับว่าตอนนั้นกลัวจริง ๆ “ญาติพี่น้องรับไม่ได้ เพราะตอนนั้นเอชไอวีเข้ามาใหม่ ๆ บางคนเป็นแล้วก็ปล่อยตัวเอง อยู่ไปตามยถากรรม ยังไม่มีใครเข้ามาช่วย ช่วงนั้นหมอก็กลัวและไม่กล้าเข้าใกล้เหมือนกัน” คุณปุณยวีย์ ฤาชา ผู้ใหญ่บ้าน บ้านโคกน้อย ย้ำถึงความน่ากลัวของเอชไอวีในขณะนั้น “คนสมัยก่อนถ้ารู้ว่ามีบ้านผู้ป่วยเอชไอวีอยู่ใกล้เขาก็จะไม่อยากคุยด้วย ไม่อยากเข้าไปใกล้ชิด ไม่อยากมีปฏิสัมพันธ์ด้วยเลย” คุณพิเชฐ พรหมนารท ผู้ช่วยนักพัฒนาชุมชน พูดถึงสถานการณ์ตอนนั้นเป็นเสียงเดียวกันกับทุกคน และนั่นคือความจริงที่สังคมต้องเผชิญกับความท้าทายใหม่ที่ชื่อว่า “เอชไอวี/เอดส์”   สังคมแห่งการไม่ตีตรา น่าสนใจว่า จากวันที่เริ่มพบผู้ติดเชื้อและผู้เสียชีวิตในชุมชน ผู้นำและคนในชุมชนต่างมีการจัดการและรับมือกับเอชไอวีและเอดส์อย่างไร แน่นอนว่าการจะปรับเปลี่ยนความคิดและทัศนคติของคนในชุมชนเป็นเรื่องยากและต้องใช้เวลาพอสมควร แต่เมื่อมีการสื่อสารข้อมูลที่ถูกต้องมากขึ้น ๆ อย่างต่อเนื่องเป็นระยะเวลานานหลายปี ทัศนคติของคนก็เริ่มเปลี่ยนแปลง เกิดเป็นความรู้ความเข้าใจ เกิดการยอมรับ เห็นอกเห็นใจและให้โอกาสกัน   “แม่ไปอบรมแล้วก็กลับมาคุยให้ทุกคนฟังว่าเอชไอวีมันไม่ได้ติดกันง่าย ๆ ไปหากันคบกันได้ พอรู้แล้วเราก็รับกันได้ในชุมชน เดี๋ยวนี้เขาก็อยู่ร่วมกันกับเราได้ ก็ธรรมดา คนที่เป็นโรคอื่นก็อาจจะตายไวกว่าโรคเอดส์” คุณแม่นงนุช สีเทา อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน (อสม.) บ้านโคกน้อย เล่าถึงจุดเปลี่ยนของตัวเองและชุมชนที่นำไปสู่การไม่ตีตรา “แม่เป็น อสม. รับรู้เรื่องเอชไอวีจากคุณหมอ โรคนี้ถ้าผู้ป่วยมีการเข้ารับการรักษา เราก็สามารถพูดคุยกับเขาได้ ไปกินข้าวกินน้ำ ไปเยี่ยมเขาได้ ไม่กลัวเอดส์เลย” คุณแม่พิมลศรี ทำสิมมา อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน (อสม.) บ้านโคกน้อย เล่าไปพรางทิ้งท้ายด้วยเสียงหัวเราะ “อสม. ก็กระจายข่าวประชาสัมพันธ์ว่าโรคนี้สามารถรักษาได้ ไม่ต้องกลัว และก็ไม่ได้ติดกันง่าย ๆ ทุกวันนี้ครอบครัวเขาก็อยู่ด้วยกัน ทานข้าวด้วยกัน ทำงานและใช้ชีวิตร่วมกันได้ตามปกติ” คุณปุณยวีย์ ฤาชา ผู้ใหญ่บ้าน บ้านโคกน้อย หมู่ 4 คิดว่าปัจจุบันเกิดเปลี่ยนแปลงไปมาก จากตอนนั้นถ้าใครเป็นแล้วต้องแยกห้องอยู่คนเดียว ใช้ชีวิตเพียงคนเดียวไป “เขาเป็นเราก็ไม่ได้ติดจากเขาง่าย ๆ หรอก สามารถใช้ชีวิตร่วมกันได้ ให้กำลังใจกันได้ ถ้าเราไปรังเกียจเขา เขาก็จะไม่มีกำลังใจต่อสู้กับโรคของเขา ก็เลยเป็นปกติแล้วทุกวันนี้ คนเป็นไม่เป็นก็อยู่ร่วมกันได้” คุณผ่องศรี โพโน อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน (อสม.)...

AHF TaLks : HON House บ้านที่มอบชีวิตใหม่ให้ผู้ด้อยโอกาส

AHF TaLks : HON House บ้านที่มอบชีวิตใหม่ให้ผู้ด้อยโอกาส

AHF TaLks: January 2024 Title: HON House บ้านที่มอบชีวิตใหม่ให้ผู้ด้อยโอกาส Written By: Komon Sapkunchorn   “คนที่อยากทำงานด้านแคร์แอนด์ซัพพอร์ตต้องทำให้สุด ไม่ใช่แค่เรื่องของการส่งเข้าสู่กระบวนการรักษาแล้วจบ เพราะชีวิตคนมันไม่จบง่ายขนาดนั้น ต้องช่วยให้เขาเห็นคุณค่าของการมีชีวิตอยู่และดูแลตัวเองได้” เมื่อพูดถึงสิทธิขั้นพื้นฐานที่มนุษย์ทุกคนบนโลกนี้สามารถเข้าถึงได้หรือที่เรียกว่า “สิทธิมนุษยชน” ก็จะประกอบไปด้วยสิทธิตามธรรมชาติและสิทธิตามกฎหมาย ทุกคนมีความเท่าเทียมกัน มีศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ มีเสรีภาพ และความเสมอภาค สิทธิดังกล่าวรวมถึงสิทธิการเข้าถึงการรักษาพยาบาล เชื่อว่า..เกือบทุกคนรู้ว่าตนเองมีสิทธิประเภทใด แต่ก็มีอีกหลายคนที่ไม่รู้เรื่องนี้.. เพราะคิดว่าถ้าไปโรงพยาบาลจะต้องมีค่ารักษาพยาบาลหรือค่ายาที่แพง พอเจ็บป่วยจึงไม่อยากไปรักษา… และมีอีกหลายคนที่รู้ว่าตนเองมีสิทธิบัตรการรักษา แต่ก็ไม่มีแม้กระทั่งค่ารถเพื่อเดินทางไปโรงพยาบาล…   AHF Thailand มีโอกาสได้พูดคุยกับ คุณทฤษฎี สว่างยิ่ง ผู้อำนวยการเครือข่ายสุขภาพและโอกาส (HON House) องค์กรชุมชนที่ทำงานเพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตของประชากรในพื้นที่เมืองพัทยามากว่า 16 ปี เมืองท่องเที่ยวขนาดใหญ่ที่เต็มไปด้วยประชากรที่หลากหลายทั้งคนไทยและคนต่างชาติ มีเรื่องราวที่น่าสนใจ ประทับใจ และเป็นแรงบันดาลใจในการสนทนาครั้งนี้ “HON: Health and Opportunity Network (เครือข่ายสุขภาพและโอกาส) เป็นองค์กรเอกชนที่ทำงานด้านแคร์แอนด์ซัพพอร์ต (Care and Support) ก่อตั้งเมื่อปี พ.ศ. 2551 ดูแลสุขภาพและสร้างโอกาสให้แก่ผู้ที่มีข้อจำกัดหรือด้อยโอกาสได้เข้าถึงบริการด้านสุขภาพ เริ่มต้นภารกิจหลักด้วยการดูแลผู้อยู่ร่วมกับเชื้อเอชไอวีที่ยังไม่สามารถเข้าถึงบริการด้านสุขภาพ โดยเน้นกลุ่มประชากรที่มีความหลากหลายทางเพศ ปัจจุบันเพิ่มมิติการทำงานออกไปอีกหลายด้าน เช่น เป็นที่ปรึกษาด้านกฎหมาย การจัดอบรมให้ความรู้เรื่องอนามัยเจริญพันธุ์ การตีตราและการเลือกปฏิบัติ และยาเสพติด ในอนาคตมีแผนจะเปิดให้บริการตรวจเอชไอวีด้วย” พี่ทิดเกริ่นถึงภารกิจของ HON สั้น ๆ เมืองพัทยากับความท้าท้ายในการทำงาน “พัทยาเป็นเมืองท่องเที่ยวที่มีความหลากหลายของประชากรมาก ไม่ว่าจะเป็นเชื้อชาติ ภาษา และความหลากหลายทางเพศ หลายธุรกิจที่นี่เป็นสถานบันเทิงและธุรกิจขายบริการทางเพศ ในอดีตผู้คนจากทั่วทุกสารทิศต่างมุ่งหน้าเข้ามาหางานทำเพื่อส่งเงินกลับไปเลี้ยงคนที่บ้าน อาจจะเรียกว่ามา “ตกทอง” ก็ได้ สมัยนั้นพัทยาเปรียบดั่งเมืองซิวิไลซ์ มีงานมีอาชีพให้ทำมากมาย เป็นสวรรค์ของกลุ่มคนที่มีความหลากหลายทางเพศได้มาใช้ชีวิตอย่างอิสระ ได้แสดงออกถึงตัวตนที่แท้จริง แต่สิ่งที่ตามมาและไม่อาจปฏิเสธได้ก็คือ พบการติดเชื้อเอชไอวีสูงในพื้นที่นี้” พี่ทิดย้อนเวลากลับไปเพื่อเล่าให้เห็นภาพพัทยาในขณะนั้น ทำงานกับสาวประเภทสองและเกย์ “เราทำงานกับกลุ่มน้อง ๆ สาวประเภทสองและเกย์ ซึ่งเป็นกลุ่มที่พบได้มากในพัทยา และองค์กรเราก็เข้ามาแก้ปัญหาได้ตรงจุด คิดว่างานด้านแคร์แอนด์ซัพพอร์ต (Care and Support) มันมีสเน่ห์ ทำให้เราได้เรียนรู้ตลอดเวลากับวิถีชีวิตของเคส เช่น การที่ทีมลงไปทำงานที่โรงพยาบาลก็จะเจอเคสที่มีปัญหาไม่เหมือนกัน ก็จะกลับมาแชร์กัน และช่วยกันคิดหาวิธีหรือแนวทางในการช่วยเหลือ กระบวนการแก้ไขปัญหาเคสต่อเคสที่ต้องอาศัยความรวดเร็ว สิ่งเหล่านี้มันทำให้เราเติบโตไปกับงานที่เราทำ” เคสหญิงไร้บ้าน ยากที่สุดในการช่วยเหลือ “คือ เคสนี้เป็นหญิงไร้บ้าน อาสาสมัครของเราไปเจอเธออาศัยอยู่ใต้สะพานที่ข้ามไปแหลมบาลีฮาย ช่วงนั้นโควิดกำลังระบาดด้วย พอทีมเราลงพื้นที่ไปถึง ดูเหมือนเธอจะมีอาการป่วยทางจิตที่เป็นผลมาจากการใช้สารเสพติด เพราะชอบพูดคนเดียว บางทีก็คุยกับเสาไฟฟ้า ประเมินจากภายนอกแล้วน่าจะเป็นผู้อยู่ร่วมกับเชื้อเอชไอวีด้วยเพราะเริ่มมีอาการป่วยบางอย่าง พอได้พูดคุยกันก็รู้ว่าเธอเพิ่งออกจากเรือนจำมาอาศัยอยู่แถวนี้ แล้วก็ขายบริการแบบอิสระด้วย ที่สำคัญเธอไม่มีบัตรประชาชน จึงไม่รู้ว่าเธอเป็นใครมาจากไหน เคสนี้จึงเป็นเคสที่ยากมาก ๆ ถึงมากที่สุดที่เราเคยเจอมา” แค่เริ่มเรื่องก็เต็มไปด้วยข้อจำกัดมากมาย เราคิดไม่ออกเลยว่าทีม HON จะเริ่มช่วยเหลือเคสนี้ที่จุดไหนก่อน..   “สิ่งเดียวที่เธอมีติดตัวคือใบประวัติจากโรงพักคล้ายรูปถ่ายผู้ต้องหาที่ถูกดำเนินคดี พูดหรือสื่อสารได้ยาก เราทำงานกับเคสนี้เป็นปี จุดประสงค์ไม่ใช่แค่พยายามให้เธอได้เข้าสู่ระบบการรักษาเท่านั้น แต่เรายังช่วยให้เธอได้มีบัตรประชาชนเพราะเป็นสิ่งแรกที่จะทำให้เธอมีสิทธิในการรับการรักษาได้ เราจึงเริ่มจากจุดแรกด้วยการสืบหาญาติ ก็ค่อย ๆ ถามไป เพราะเธอจะเล่าได้เป็นท่อนสั้น ๆ จึงรู้ว่าเคยมีญาติอยู่ที่อำเภอพานทอง เลยรวบรวมเอกสารทั้งหมดที่มีเพื่อไปทำบัตรประชาชน พอไปถึงเจ้าหน้าที่แจ้งว่าทำให้ไม่ได้เพราะเอกสารที่มีไม่สามารถระบุตัวตนได้” ค้นทะเบียนราษฏร์เพื่อทำบัตรประชาชน “เราจึงไปขอความช่วยเหลือจากฝ่ายสวัสดิการสังคมเมืองพัทยา เพื่อขอความอนุเคราะห์เจ้าหน้าที่ให้ช่วยค้นหาเอกสารทะเบียนราษฏร์ โชคดีที่เอกสารจากโรงพักมีเลข 13 หลักติดอยู่ด้วย ทำให้สามารถยืนยันได้ว่าเธอเป็นคนไทยแน่นอน ต่อมาก็พบข้อมูลว่าเธอมีภูมิลำเนาอยู่ที่ไหน และเคยมีสิทธิรักษาอยู่ที่โรงพยาบาลแห่งหนึ่งในจังหวัดชลบุรี ขณะที่เธอก็เริ่มมีอาการป่วยมากขึ้นเรื่อย ๆ เลยให้น้องในทีมไปช่วยประสานในการคัดทะเบียนราษฎร์ที่อำเภอ พร้อมทั้งเตรียมเอกสารของ HON ไปยื่นด้วยเพื่อรับรองว่าเราทำงานด้านนี้จริงและกำลังให้การช่วยเหลือคนนี้ให้เข้าสู่ระบบการรักษาจริง ๆ ในที่สุดเธอก็ได้บัตรประชาชน” พี่ทิดทิ้งท้ายว่า สิ่งที่กังวลต่อจากนั้นเรื่องแรก คือ บัตรประชาชนจะหายอีกมั้ยถ้ากลับไปอยู่อาศัยที่เดิม เรื่องที่สอง คือ เธอยังไม่ยอมเข้าสู่ระบบการรักษา “เราพยายามพูดคุยเพื่อให้ข้อมูล สร้างความเข้าใจและไว้วางใจไปเรื่อย ๆ สักระยะหนึ่งจนเธอตัดสินใจเข้ารับการรักษา รวมเวลาเกือบ 1 ปี นับตั้งแต่ช่วงที่ไปเจอ ผ่านช่วงโควิด จนถึงวันที่ได้บัตรประชาชน ได้ยากิน สิ่งที่สำคัญต่อจากนั้น คือ แล้วเธอจะกินยาได้มั้ย ตรงเวลามั้ย และจะเก็บยาที่ไหน” พี่ทิดพูดพร้อมรอยยิ้มและเสียงหัวเราะอย่างเอ็นดูกับเคสนี้ ซึ่งเรารับรู้ได้ว่า HON ไม่ได้ทำเพียงเพราะมันเป็นแค่หน้าที่ แต่พวกเขาทำด้วยแพชชั่นที่ต้องการพัฒนาคุณภาพชีวิตของคน ๆ นึงให้ดีขึ้นและช่วยเหลือตัวเองได้จริง ๆ นั่นคือสิ่งที่พวกเขายึดมั่นในการทำงานเสมอมา “เราจึงใช้ระบบเดียวกับที่อาสาสมัครของเราไปดูแลเคสอื่น ๆ คือ ช่วงแรกเอายาไปให้เธอกินทุกวัน และนั่งดูด้วยว่ากินจริงมั้ย...