Category: บทความทั้งหมด

Real Life Talk: แม่เอ๋-บุรากร ศิริทรัพย์ มากกว่ารักคือการให้
Post

Real Life Talk: แม่เอ๋-บุรากร ศิริทรัพย์ มากกว่ารักคือการให้

“ตราบใดที่ยังมีลมหายใจ ตราบใดที่ยังมีชีวิต เราก็สร้างคุณค่าให้ตัวเองได้” เจ้าของประโยคธรรมดาที่กระแทกใจไม่ใช่น้อยนี้คือ แม่เอ๋-บุรากร ศิริทรัพย์ เจ้าหน้าที่มูลนิธิเดอะพอสโฮมเซ็นเตอร์ หน่วยงานที่คอยให้ความช่วยเหลือผู้อยู่ร่วมกับเชื้อ HIV

เปิดบ้าน glove clinic คลินิกแสนอบอุ่นที่ใช้หัวใจในการรักษา
Post

เปิดบ้าน glove clinic คลินิกแสนอบอุ่นที่ใช้หัวใจในการรักษา

เมื่อเปิดประตูก้าวเข้ามา สิ่งแรกที่สัมผัสได้คือบรรยากาศสบายๆ ผ่อนคลาย เหมือนเข้าไปในร้านกาแฟหรือ co-working space เก๋ๆ ทำให้ลืมไปเลยว่า เรากำลังเดินเข้ามาในคลินิกเฉพาะทางสำหรับตรวจคัดกรองและรักษาโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์และ HIV

Step by Step ขั้นตอนการตรวจ HIV ง่ายนิดเดียว
Post

Step by Step ขั้นตอนการตรวจ HIV ง่ายนิดเดียว

หลายคนเข้าใจผิด คิดว่าการตรวจ HIV นั้นยุ่งยากและราคาแพง ทำให้ไม่กล้ามาตรวจเพราะกลัวไปต่างๆ นานา แต่จริงๆ แล้วการตรวจ HIV นั้นง่ายมาก เพียงแค่เจาะเลือดและรู้ผลได้เร็ว

Behind the scene: AHF Thailand เราอยากให้คุณรู้จักเรามากขึ้น
Post

Behind the scene: AHF Thailand เราอยากให้คุณรู้จักเรามากขึ้น

ครั้งนี้เรามีโอกาสได้พูดคุยกับ “พี่แจ็ค-กฤษสยาม อารยะวงค์ไชย” หนึ่งในกำลังขับเคลื่อนสำคัญของ AHF Thailand ที่จะมาบอกเล่าที่มาและเรื่องราวขององค์กรแห่งนี้ให้เราได้ฟังกัน

พร้อมไหม? ไปฟินกัน “รักฉุดใจปีใหม่สุดฟิน”
Post

พร้อมไหม? ไปฟินกัน “รักฉุดใจปีใหม่สุดฟิน”

“รักฉุดใจปีใหม่สุดฟิน” คลิปของขวัญปีใหม่ที่ #AHFThailand ร่วมกับเพจ #papapartyvoice นักพากย์ฟีลกู้ด จัดทำขึ้นเพื่อให้ความรู้เกี่ยวกับ HIV/AIDS ที่เข้าใจง่าย และถูกต้อง ปีใหม่นี้อย่าลืม! ดูแลตัวคุณเองและคนที่คุณรัก สนใจขอรับคำปรึกษาและรับบริการตรวจที่ 064 598 6112 หรือ Line ID: ahfthailand หรืออ่านข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ ahfthailand.com ขอขอบคุณ #นาดาวบางกอก ที่เอื้อเฟื้อคลิปนี้ให้ทีมงานได้มาสร้างความฟินกัน

ประกวดคลิปวีดีโอ หัวข้อ “สวมโลกใบใหม่ให้ CONDOM”
Post

ประกวดคลิปวีดีโอ หัวข้อ “สวมโลกใบใหม่ให้ CONDOM”

โอกาสในการร่วมกิจกรรมดีดีเพื่อสังคมมาถึงแล้ว!! AHF Thailand ร่วมกับหน่วยงานภาคีการทำงาน ขอเชิญนักศึกษาและเยาวชนทั่วไป ที่มีอายุระหว่าง 18-24 ปี เข้าร่วมกิจกรรม AHF Media Award และส่งผลงานคลิปวีดีโอความยาวไม่เกิน 1 นาทีเข้าประกวดในหัวข้อ “สวมโลกใบใหม่ให้ CONDOM” เพื่อสร้างทัศนคติทีดีต่อถุงยางอนามัย เปิดรับสมัครเป็นทีมๆ ละ 3 คน สมัครได้ตั้งแต่วันนี้ถึงวันที่ 31 ธันวาคม 2562 รายละเอียดเงื่อนไขการเข้าร่วมกิจกรรมและใบสมัครสามารถดาวน์โหลดได้จาก QR Code ด้านล่าง สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่เบอร์ 080-272 4301 (คุณอ้อม) หรืออีเมล์: [email protected]

น็อค HIV ให้อยู่หมัด กับนักสู้หน้าใหม่ Mobile Knockout Testing Car
Post

น็อค HIV ให้อยู่หมัด กับนักสู้หน้าใหม่ Mobile Knockout Testing Car

หลังจาก AHF Thailand และภาคีร่วมกันต่อสู้กับ HIV กันมาหลายต่อหลายยก วันเอดส์โลกปีนี้เลยจะขอส่งอีกหนึ่งนักสู้หน้าใหม่ลงเวที นั่นคือ Mobile Knockout Testing Car รถตรวจ HIV เคลื่อนที่ที่พิเศษกว่าใคร

FILM SCREENING: DRUG$ THE PRICE WE PAY
Post

FILM SCREENING: DRUG$ THE PRICE WE PAY

วันที่ 10 กันยายน 2562 ในงาน ASEAN Civil Society Conference/ ASEAN People Forum 2019 Thailand หรือ ACSC/APF 2019 ณ ศูนย์ประชุมมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์รังสิต AHF Thailand ได้จัดกิจกรรม FILM SCREENING: DRUG$ THE PRICE WE PAY พร้อมเสวนาแลกเปลี่ยนเกี่ยวกับสถานการณ์ยาในประเทศไทย โดยจากคุณอภิวัฒน์ กวางแก้ว ประธานเครือข่ายผู้ติดเชื้อเอชไอวี/เอดส์ประเทศไทย และคุณเฉลิมศักดิ์ กิตติตระกูล ผู้ประสานงานรณรงค์การเข้าถึงยา มูลนิธิเข้าถึงเอดส์ ราคายาในปัจจุบันกลายเป็นปัจจัยหนึ่งที่เป็นปัญหาต่อสุขภาพในปัจจุบัน ยาสำคัญหลายตัวที่ผู้คนจำเป็นต้องใช้ทุกวันมีราคาที่สูงเกินกว่าที่จะสามารถจ่ายไหวได้ ทำให้คนตกอยู่ในสภาวะยากจนเพียงชั่วข้ามคืน แต่ก็ไม่มีใครทราบว่าบริษัทยามีวิธีการอย่างไรในการกำหนดราคายา และในขณะเดียวกันผู้บริโภคกลับไม่มีอำนาจต่อรองราคายาเลยแม้แต่น้อยเหมือนกับที่สามารถต่อรองราคาสินค้าอื่น ๆ ในตลาดทั่วไปได้ ข้อตกลงว่าด้วยทรัพย์สินทางปัญญา หรือ TRIPS ถูกใช้เป็นเครื่องมือของประเทศที่พัฒนาแล้วในการบังคับให้ประเทศที่กำลังพัฒนาต้องมีกฎหมายทรัพย์สินทางปัญญา ซึ่งเอื้อประโยชน์ต่อบริษัทยาขนาดใหญ่ ทำให้คนในประเทศที่กำลังพัฒนาสามารถเข้าถึงยาและการรักษาที่จำเป็นต่อชีวิตได้น้อยลง อาทิ ยารักษาเบาหวานบางตัวในประเทศสหรัฐอเมริกาขึ้นราคาจากเดิมถึง 17 เท่า ทั้งที่เป็นยาที่จำเป็นต้องใช้ทุกวัน โดยอ้างว่าเป็นการยาที่คิดค้นขึ้นมาใหม่ แต่ที่จริงคือการนำเอาสารตั้งต้นต่าง ๆ นำมาทำส่วนผสมใหม่ โดยส่วนใหญ่บริษัทยามักจะทำในลักษณะนี้แล้วอ้างว่าเป็นยาตัวใหม่นำมาจดทะเบียนสิทธิบัตรยาในประเทศที่กำลังพัฒนา โดยที่รัฐตามไม่ทัน ซึ่งจริง ๆ แล้วยาเหล่านี้แม้นักศึกษาเภสัชกรรมปีสุดท้ายก็สามารถผลิตขึ้นเองได้ ในประเทศไทยเองก็เผชิญกับปัญญาราคายาเช่นกัน โดยจากการผลักดันของภาคประชาสังคมทำให้เกิดการทำ Compulsory licensing (CL) หรือมาตรการทางกฎหมายที่อนุญาตให้หน่วยงานภาครัฐหรือภาคเอกชนที่ไม่ใช่เจ้าของสิทธิบัตรสามารถใช้สิทธิในการผลิต การใช้ การนำเข้าผลิตภัณฑ์ที่มีสิทธิบัตรได้ตามมาตรา 51 แห่งพระราชบัญญัติสิทธิบัตร พ.ศ. 2522 ในกรณีที่มีภาวะฉุกเฉินทางด้านสาธารณสุข เราได้มีประสบการณ์ในประเทศไทยจากยาต้านไวรัสเอชไอวี ยารักษาโรงมะเร็ง และล่าสุดคือยารักษาไวรัสตับอักเสพซี ซึ่งมาเลเซียเป็นประเทศแรกในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ที่ทำ CL ซึ่งมีผลทำให้ยารักษาไวรัสตับอักเสพซีถูกลงมาถึงร้อยละ 50 ดังนั้น ภาคประชาสังคมจึงมีความสำคัญต่อการเข้ามามีบทบาทในการติดตาม และการที่จะตั้งคำถามต่อการตั้งราคายาของบริษัทยาข้ามชาติ ซึ่งการเคลื่อนไหวของภาคประชาสังคมนี้มีองค์ประกอบที่สำคัญ 3 ประการคือ ประการแรก การใช้ข้อมูลวิจัยและข้อมูลทางยุทธศาสตร์ในการเป็นพื้นฐานของการขับเคลื่อน ประการที่สอง การใช้เวทีสาธารณะเพื่อให้ผู้เกี่ยวข้องทุกภาคส่วนได้ร่วมกันแก้ปัญหาไปพร้อมกัน และประการที่สาม การสร้างความสัมพันธ์ระหว่างหน่วยงานภาครัฐและภาคประชาสังคมที่จะต้องมีการทำงานไปด้วย สามารถรับชมหนังสั้น DRUG$ THE PRICE WE PAY ได้ที่ https://www.youtube.com/watch?v=lZQe1eDuUeU

16 September 201916 September 2019by
ประชุมทวิภาคีเพื่อพัฒนากลไกการส่งต่อผู้ป่วยระหว่างประเทศ
Post

ประชุมทวิภาคีเพื่อพัฒนากลไกการส่งต่อผู้ป่วยระหว่างประเทศ

มูลนิธิศุภนิมิตรแห่งประเทศไทย ภายใต้การสนับสนุนกองทุนโลก ร่วมกับ มูลนิธิเอดส์ เฮลท์ แคร์ (ประเทศไทย) สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดระนอง และกระทรวงสาธารณสุขและการกีฬาประเทศเมียนมาร์ ได้จัดการประชุมเชิงปฏิบัติการพัฒนากลไกการส่งต่อผู้ป่วยและการสะท้อนผลระหว่างประเทศบริเวณชายแดนจังหวัดระนอง ประเทศไทย และเกาะสอง ประเทศเมียนมาร์ เมื่อวันที่ 5-6 กันยายน 2562 ณ ห้องประชุมทวีสินค้า โรงแรมทินิดี จังหวัดระนอง โดยมีนายแพทย์กัมพล ลิ่มทองนพคุณ รองผู้อำนวยการฝ่ายการแพทย์ ผู้ช่วยผู้อำนวยการกลุ่มภารกิจด้านบริการทุติยภูมิและตติยะภูมิโรงพยาบาลระนอง จังหวัดระนอง เป็นประธานในการเปิดประชุม การประชุมครั้งนี้เป็นการประชุมเชิงปฏิบัติการระดับทวิภาคีเพื่อพัฒนากลไกและความร่วมมือด้านสาธารณสุขในการดูแลและการส่งต่อผู้ป่วยวัณโรค ผู้มีเชื้อเอชไอวี ผู้ป่วยเอดส์ และมาลาเรีย ระหว่างประเทศบริเวณชายแดนจังหวัดระนอง ประเทศไทย และเกาะสอง ประเทศเมียนมาร์ โดยมีการจัดทำร่างแผนการดำเนินงานอย่างเป็นระบบ มีผู้ประสานงานหลัก และเจ้าหน้าที่ส่งต่อ มีระบบการติดตามผู้ป่วยได้รับการรักษาต่อเนื่อง เพื่อการส่งต่อผู้ป่วยข้ามแดนอย่างมีประสิทธิภาพ เวทีนี้มีผู้เข้าร่วมประชุมแลกเปลี่ยนจำนวน 35 ท่าน ได้แก่ ผู้แทนจากสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดระนอง โรงพยาบาลระนอง หน่วยประสานงานชายแดนประจำพื้นที่ 6 จังหวัดระนอง กระทรวงสาธาณสุข สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดเชียงราย โรงพยาบาลแม่สาย โรงพยาบาลเชียงแสน เจ้าหน้าที่ด้านสาธารณสุขเกาะสอง ประเทศเมียนมาร์

ประชุมร่วมกับทีมพยาบาลโรงพยาบาลบางนา 1
Post

ประชุมร่วมกับทีมพยาบาลโรงพยาบาลบางนา 1

วันที่ 29 สิงหาคม 2562 เจ้าหน้าที่ AHF Thailand และมูลนิธิเดอะพอสโฮมเซ็นเตอร์ เข้าพบเพื่อแนะนำองค์กรและโครงการกับทีมพยาบาลโรงพยาบาลบางนา 1 พร้อมทั้งหารือเรื่องแนวทางการดำเนินงานร่วมกัน โรงพยาบาลบางนา 1 เป็นโรงพยาบาลเอกชนแห่งแรกที่ AHF Thailand ให้การสนับสนุนในการพัฒนาการให้บริการแก่ผู้อยู่ร่วมกับเชื้อเอชไอวี โดยมีมูลนิธิเดอะพอสโฮมเซ็นเตอร์ เป็นองค์กรประสานงานและสนับสนุนการทำงานในด้านการดูแลผู้อยู่ร่วมกับเชื้อที่มารับบริการร่วมกับโรงพยาบาล