Category: บทความทั้งหมด

STAYING ALIVE The Series: เรื่องเล่าจากใจชาวอาสา
Post

STAYING ALIVE The Series: เรื่องเล่าจากใจชาวอาสา

คุณคิดว่า คำว่า “อาสาสมัคร” มีความหมายและคุณค่าอย่างไรบ้าง ในโลกที่ผู้คนมากมายยังต้องการความช่วยเหลือเกื้อกูลกัน อาสาสมัครคือหนึ่งในคนที่พร้อมจะยื่นมือและช่วยพากันเดินออกมาจากหนทางที่มืดมน อาสาสมัครจึงไม่ใช่เพียงแค่อาชีพ แต่อาจเป็นอะไรที่มากกว่านั้น

V-IDOL – We Love to Share 7 ไอดอลจิตอาสา สร้างสังคมแห่งการอยู่ร่วมกันอย่างมีความสุข
Post

V-IDOL – We Love to Share 7 ไอดอลจิตอาสา สร้างสังคมแห่งการอยู่ร่วมกันอย่างมีความสุข

หลายคนคงมีภาพไอดอลในใจว่าเป็นอย่างไร มีแรงบันดาลใจกับเราอย่างไรบ้าง แต่ไอดอลที่ AHF Thailand จะพาทุกท่านมารู้จัก มีความพิเศษมากไปกว่านั้น เพราะพวกเขาคือเหล่าไอดอลจิตอาสา ที่ขอมาทำหน้าที่เป็นสื่อกลางเพื่อสร้างความตระหนักในการมีเพศสัมพันธ์ที่ปลอดภัยและความสำคัญของการตรวจหาการติดเชื้อเอชไอวีผ่านโครงการ V-IDOL พวกเขาคือกลุ่มไอดอลที่ไม่ได้ต้องการอะไรมากไปกว่า อยากให้ชีวิตของเพื่อนๆ และสังคมของเราดีขึ้นกว่าที่เคย สำหรับโครงการ V-IDOL นี้ ได้จัดมาเป็นรุ่นที่ 5 แล้ว ซึ่งเกิดจากความต้องการให้ความรู้เกี่ยวกับด้านเอชไอวีและประชาสัมพันธ์การบริการเรื่องการตรวจให้กับประชาชนกลุ่มเป้าหมาย เพราะทุกวันนี้การทำงานจริงๆ ค่อนข้างมีข้อจำกัดมากขึ้น โดยเฉพาะช่วงโควิด แต่การมี  V-IDOL จะสามารถรณรงค์และให้ความรู้ผ่านช่องทางออนไลน์ได้ และยังเข้าถึงกลุ่มเป้าหมายได้ลึกมากยิ่งขึ้น ซึ่งทำให้ลดช่องว่างในการทำงานป้องกันเอชไอวีและโรคติดต่อทางเพสสัมพันธ์ได้อย่างมีประสิทธิภาพ โครงการ V-IDOL ได้รับการสนับสนุนจาก AHF Thailand ร่วมกับองค์กรบางกอกเรนโบว์ ที่เป็นหัวเรือใหญ่สำคัญของโครงการนี้ โดย พี่อ๋อ-นิกร ฉิมคง ประธานองค์กรบางกอกเรนโบว์ ได้บอกเล่าถึงจุดเริ่มต้นและแนวคิดในการทำโครงการนี้ให้ฟังว่า “ทางบางกอกเรนโบว์เป็นผู้ดำเนินโครงการโดยมี AHF Thailand เป็นผู้สนับสนุน ซึ่งโครงการนี้เกิดขึ้นมาจากการที่เราอยากส่งเสริมและรณรงค์การตรวจเอชไอวีในกลุ่มของชายที่มีเพศสัมพันธ์กับชายผ่านออนไลน์มากขึ้น เพราะสื่อออนไลน์มีอิทธิพลมากในปัจจุบัน วัตถุประสงค์ของเราเลยเป็นเรื่องของการหาช่องทางที่ทำให้เกิดอิทธิพลในการเชิญชวนหรือประชาสัมพันธ์ เพราะโดยปกติกลุ่มนี้ก็อาจจะไม่ค่อยกล้าไปปรึกษาใครตัวต่อตัว เขาก็จะไปหาข้อมูลทางสื่อออนไลน์ ก็อยากให้หากวันหนึ่งเขามีปัญหาเรื่องสุขภาพ เรื่องเอชไอวีและโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ พอเสิร์ชข้อมูลเขาก็มาเจอโครงการเรา” แต่การจะเป็น V-IDOL ที่พร้อมจะแชร์ความรู้และความห่วงใยให้คนรอบข้างได้นั้น ไม่เพียงแต่จะต้องมียอดติดตามในสื่อโซเชียลมากกว่า 5,000 คนเท่านั้น แต่ V-IDOL จะต้องมีใจที่เป็นจิตอาสาด้วย รวมถึงวิธีการทำงานที่มีความเข้มข้นมากขึ้น เพื่อให้ผู้เป็น V-IDOL สามารถลงมือช่วยเหลือกลุ่มเป้าหมายได้อย่างแท้จริง “เราลงประกาศและบอกเงื่อนไขไปเลยว่า 1. คุณต้องมีจิตอาสา 2. มีทัศนคติที่ดีกับเรื่องของผู้อยู่ร่วมกับเชื้อเอชไอวี 3. มีเวลา และ 4. มียอด follower 5,000 คนขึ้นไป ในปีแรกๆ ที่เราทำ มันจะเป็นการสื่อสารฝ่ายเดียว เป็นภาพแห้งๆ มีเพียงแบนเนอร์หรือโปสเตอร์เท่านั้น ครั้งนี้เราจึงเพิ่มความเข้มข้นเรื่องของความรู้พื้นฐาน มีการจัดเทรนนิ่ง โดยผู้ที่เป็น V-IDOL ต้องเข้าใจว่าวัตถุประสงค์โครงการคืออะไร คุณต้องทำอะไร เจออะไรบ้าง ภารกิจคืออะไร และต้องความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับเอชไอวีและโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ เวลาคน inbox เข้ามาถาม คุณจะจัดการอย่างไร ระบบการประสานงาน ส่งต่อ การซัพพอร์ตของเราจะช่วยอะไรเขาได้บ้าง ไม่อยากให้เขาเข้ามาแล้วโดดเดี่ยว หลายๆ คนที่เป็น follower ของเหล่า V-IDOL จะได้รับรู้ว่ามีโครงการนี้ มองเห็นความสำคัญของการตรวจเอชไอวี รวมทั้งข้อความอื่นๆ ที่เราจะสื่อสารไปให้เขาในแต่ละอาทิตย์ ซึ่งมีทั้งเรื่องการดูแล การป้องกัน การรักษา อะไรก็แล้วแต่ที่เกี่ยวกับเอชไอวี นอกจากเขาจะได้เรื่องความตระหนักรู้แล้ว เขายังรับรู้ว่าหากเขามีปัญหา เขาจะไปขอความช่วยเหลือได้ที่ไหน” มารู้จักกับ 7 V-IDOL กัน! คุณอรรถพล ถนอมเกียรติ์ (เบียร์) อายุ: 34 ปี อาชีพ: ธุรกิจส่วนตัว ช่องทางการติดต่อ: Facebook: Beer Attaphon, IG: beer.3t, Twitter: 3t.beer ได้รู้จักพี่ที่เคยร่วมโครงการนี้ ซึ่งปัจจุบันเขาเสียไปแล้ว พอมีประกาศมาเราเลยสนใจ อยากสานต่อ เพราะว่าเป็นโครงการที่ดี และคิดว่าเป็นโอกาสที่ดีที่จะเป็นประโยชน์ให้กับคนอื่นๆ ได้ นึกถึงใครไม่ออกอยากให้นึกถึงเรา แล้วเดี๋ยวเราช่วยได้ไม่ได้อย่างไร อย่างน้อยเราก็เป็นตรงกลางให้ได้ อันนี้แหละถือเราประสบความสำเร็จแล้ว อย่างน้อยเราสามารถบอกต่อ หรือส่งต่อ ช่วยเหลือเขาได้ นอกจากเราเป็นเซ็นเตอร์ที่คนมองเห็นแล้ว อนาคตยังสามารถกระจายหรือเป็นแรงบันดาลใจให้เขาได้ช่วยเหลือคนอื่นต่อไปก็ได้ มันก็เหมือนเป็นอีกหน่วยหนึ่งที่ส่งต่อความรู้ ส่งต่อเมตตาจิตให้กัน แผ่ไปเรื่อยๆ ให้กับสังคม คุณวุฒิชัย ไชยคม (ตุ้ม) อายุ: 32 ปี อาชีพ: Assistant Manager โรงแรม เดอะ สุโขทัย บางกอก ช่องทางการติดต่อ: Facebook: Chaiyakom WC, IG: Wuttcha_official จริงๆ มองว่า การที่เรามีความสุขกับวัตถุ เช่น กระเป๋า รองเท้า มันก็เป็นความสุขที่ทุกคนสัมผัสได้ แต่ตุ้มเปลี่ยนวิธีคิดใหม่ ก็คือมีความสุขเกี่ยวกับการช่วยเหลือคนอื่นในสังคม และอยากรู้ว่าความสุขนั้นเป็นอย่างไร ก็เลยลองเปิดโอกาสให้ตัวเองมาในจุดนี้ ก่อนจะเข้าโครงการนี้ ตุ้มเป็นเหมือนกล่องเปล่าๆ ใบหนึ่ง ไม่ค่อยรู้เรื่องโรคนี้เท่าไหร่ แต่พอได้มาเข้าร่วม ก็ได้พบเจอผู้มีความรู้ มีประสบการณ์ ที่มาแชร์ความรู้ข้อมูลกัน ซึ่ง พอได้เห็นว่าการที่เรามีความรู้ มีความพร้อมที่จะช่วยเหลือสังคม สิ่งดีๆ ในตัวเราก็จะแผ่ไปสู่สังคม แผ่ไปสู่คนรอบข้าง...

AHF Thailand Effect the series: โรงพยาบาลเลิดสิน เสียงแห่งความเข้าใจเพื่อผู้อยู่ร่วมกับเชื้อ
Post

AHF Thailand Effect the series: โรงพยาบาลเลิดสิน เสียงแห่งความเข้าใจเพื่อผู้อยู่ร่วมกับเชื้อ

ห้องตรวจ 502 และให้คำปรึกษา โรงพยาบาลเลิดสิน เป็นหนึ่งในหน่วยงานของโรงพยาบาลรัฐที่มีการดูแลและรักษาผู้อยู่ร่วมกับเชื้อเป็นอันดับต้นๆ ของกรุงเทพมหานคร ครอบคลุมทุกด้าน ทั้งกาย จิต และสังคม รวมถึงการให้บริการแบบ one stop service

AHF Thailand Effect the Series: โรงพยาบาลสมุทรสาคร…เสียงที่เราอยากให้ทุกคนฟัง
Post

AHF Thailand Effect the Series: โรงพยาบาลสมุทรสาคร…เสียงที่เราอยากให้ทุกคนฟัง

สมุทรสาคร เป็นหนึ่งในจังหวัดที่มีชื่อเสียงเรื่องการทำประมง อุตสาหกรรม และการเกษตร ซึ่งทำให้สมุทรสาครต้องการกำลังคนในการทำงานไม่น้อย แต่เมื่อแรงงานในประเทศขาดแคลน จึงจำเป็นต้องนำเข้าแรงงานจากประเทศเพื่อนบ้านมาทดแทน

11 September 202010 September 2020by
AHF Thailand Effect the Series: มูลนิธิเดอะพอส โฮม เซ็นเตอร์ เสียงอันอบอุ่นจากเพื่อนของเรา
Post

AHF Thailand Effect the Series: มูลนิธิเดอะพอส โฮม เซ็นเตอร์ เสียงอันอบอุ่นจากเพื่อนของเรา

“ในตอนนั้นที่รู้ว่าตัวเองติดเชื้อ คิดว่าตัวเองตายไปแล้ว ฉะนั้นชีวิตที่เหลืออยู่เราควรทำอะไรเพื่อสังคมบ้าง” พี่เอก-สมชัย พรหมสมบัติ ผู้อำนวยการ มูลนิธิเดอะพอส โฮม เซ็นเตอร์ เล่าถึงความหลังย้อนกลับไปเมื่อปี พ.ศ. 2535

AHF Thailand Effect the Series: สมาคมวางแผนครอบครัวแห่งประเทศไทยฯ เสียงสะท้อนของวัยเยาว์
Post

AHF Thailand Effect the Series: สมาคมวางแผนครอบครัวแห่งประเทศไทยฯ เสียงสะท้อนของวัยเยาว์

วัยรุ่น คือวัยหัวเลี้ยวหัวต่อ วัยแห่งความอยากรู้อยากลองในทุกเรื่อง และเริ่มหัดที่จะรักบุคคลอื่นนอกจากพ่อแม่หรือคนในครอบครัว ก้าวออกจากรั้วบ้านเข้าสู่รั้วสถานศึกษา ที่ที่พวกเขาจะได้เริ่มสร้างสังคมในแบบฉบับของตัวเอง แต่ด้วยวัยที่ต้องปรับตัวเรียนรู้สิ่งใหม่ๆ ในโลกที่กว้างขึ้น ย่อมอาจทำให้พวกเขาละเลยที่จะรักและรู้จักป้องกันตัวเอง ซึ่งไม่เพียงแต่เยาวชนชายและหญิงเท่านั้น แต่รวมไปถึงกลุ่มเยาวชนที่มีความหลากหลายทางเพศด้วย นี่จึงเป็นภารกิจที่สำคัญของสมาคมวางแผนครอบครัวแห่งประเทศไทย ในพระราชูปถัมภ์สมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี (สวท) หนึ่งในภาคีที่ AHF Thailand ให้การสนับสนุน ได้จัดทำ “โครงการส่งเสริมการเข้ารับบริการตรวจหาการติดเชื้อเอชไอวีและส่งต่อเพื่อรักษาโรคภูมิคุ้มกันบกพร่อง (AIDS) ในกลุ่ม MSM/TG พื้นที่กรุงเทพมหานคร” เพื่อส่งเสริมให้เยาวชนและวัยรุ่นในสถาบันอุดมศึกษา มีความตระหนัก รู้จักป้องกันตัวเอง และเข้ารับการตรวจรักษา ซึ่งจะช่วยให้อัตราการติดเชื้อเอชไอวีในประเทศไทยลดลงได้   รู้จักกับสมาคมวางแผนครอบครัวแห่งประเทศไทยฯ “อยากให้เขารู้จักคุณค่าของตัวเอง รักตัวเอง และป้องกันตัวเองเป็น” นี่คือวลีที่คุณก้อง-วรโชติ ละมุดทอง รักษาการผู้อำนวยการด้านงานเอดส์ สมาคมวางแผนครอบครัวแห่งประเทศไทยฯ ได้กล่าวไว้เมื่อถูกถามว่า ทำไมจึงเลือกทำงานรณรงค์ให้ความรู้ด้านเอชไอวีและโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์กับกลุ่มเยาวชนและวัยรุ่น โดยเฉพาะกลุ่มที่มีความหลากหลายทางเพศ ซึ่งคำตอบนี้ ยิ่งทำให้เราอยากรู้จักสมาคมฯ แห่งนี้มากยิ่งขึ้น คุณก้องเล่าให้ฟังถึงที่มาและเป้าหมายของสมาคมฯ ว่า สมาคมวางแผนครอบครัวแห่งประเทศไทยฯ เป็นองค์กรสาธารณกุศลแห่งแรกที่บุกเบิกงานวางแผนครอบครัวในประเทศไทย ก่อตั้งมาตั้งแต่ ปี พ.ศ. 2513 และเป็นผู้นำแห่งการเรียนรู้ด้านอนามัยเจริญพันธุ์และสุขภาพทางเพศ ซึ่งหนึ่งในภารกิจปัจจุบันคือการส่งเสริมการป้องกันการแพร่ระบาดและลดผลกระทบของโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์และเอดส์ และลดการตีตรา แก่เยาวชนในสถานศึกษา ปัจจุบันการติดเชื้อเอชไอวีในกรุงเทพมหานคร โดยเฉพาะในกลุ่มที่มีความหลากหลายทางเพศยังมีแนวโน้มที่สูงกว่ากลุ่มประชากรทั่วไปมาก ด้วยวิถีชีวิตและบริบทในสังคม อาจทำให้พวกเขาไปเสี่ยงกับการติดเชื้อทางเอชไอวีและโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ได้ อีกทั้งบางส่วนก็ยังขาดความรู้และการเข้าถึงบริการ VCT คือการเข้ารับบริการตรวจเลือดด้วยความสมัครใจ เพราะฉะนั้นสถิติของกลุ่มดังกล่าวจึงยังมีการติดเชื้อที่ค่อนข้างสูงกว่ากลุ่มอื่นๆ คุณก้องกล่าวย้ำว่า “จริงๆ แล้ว การติดเชื้อเอชไอวีไม่ได้มีเฉพาะกลุ่มเท่านั้น แต่เป็นเรื่องของการมีพฤติกรรมทางเพศที่ขาดความรับผิดชอบต่อสังคม ซึ่งสามารถเกิดขึ้นได้กับทุกคน ดังนั้น เราจึงควรต้องระมัดระวัง และตระหนักให้มาก”    เปิดรั้ว เปิดใจ การทำงานของสมาคมจะเป็นการทำงานเชิงรุกที่บุกเข้าไปให้ความรู้ผ่านกิจกรรมและมีรถโมบายให้บริการตรวจ VCT ร่วมกับหน่วยพยาบาลภาครัฐและศูนย์บริการสาธารณสุขให้กับนักเรียนนักศึกษาถึงในรั้วสถาบัน พร้อมกับการสร้างชุมชนและเครือข่ายอาสาสมัครผ่านกลุ่มนักศึกษา เพื่อให้ข้อมูลความรู้ในการป้องกันการติดเชื้อเอชไอวี รวมถึงเรียนรู้แง่มุมที่หลากหลายและความเลื่อนไหลของเพศวิถี เคารพต่อสิทธิและความเท่าเทียมกันของทั้งตัวเองและผู้อื่น และลดการตีตราและเลือกปฏิบัติต่อกลุ่มที่มีความหลากหลายทางเพศด้วย “กิจกรรมที่เราทำ ไม่ได้ยืนถือไมค์ แล้วเปิดสไลด์อย่างเดียว แต่เรามีเวิร์คช็อป ภาพจริง เสียงจริง รูปจริงที่เกิดขึ้นกับคนที่ไม่ได้ระมัดระวัง ซึ่งบางทีเรามีคนไข้มาเป็นวิทยาทานให้น้องเห็น พยายามหารูปแบบหรือดีไซน์กิจกรรมต่างๆ เพื่อให้เข้าถึงกลุ่มเป้าหมาย เพราะบริบทของแต่ละมหาวิทยาลัยก็จะไม่เหมือนกัน เช่น การออกบูธกิจกรรมในวันแห่งความรัก มีหน่วยแพทย์โมบายเคลื่อนที่ แคมเปญปั่นจักรยานรอบรั้วมหาวิทยาลัย หรือเดินแจกโบรชัวร์ให้ความรู้ตามชุมชนรอบๆ มหาวิทยาลัย เป็นต้น “ในเรื่องของการเข้าถึงกลุ่มเป้าหมาย เราก็จะเจาะไปที่ตัว ‘คุณแม่’ เลย เพราะแต่ละมหาวิทยาลัย จะมีชมรมต่างๆ ซึ่งเป็นที่รู้กันอยู่แล้วว่าจะมีรุ่นพี่ที่เป็นกลุ่มหลากหลายทางเพศ เราก็จะพยายามเจาะไปในกลุ่มนั้น ดึงเขามาทำกิจกรรม โดยคิดกิจกรรมที่เขาอยากมีส่วนร่วมด้วย หรือทำแล้วรู้สึกว่าดีต่อชีวิตของเขา” แต่การทำงานกับเยาวชนและวัยรุ่น ย่อมมีเรื่องไม่คาดฝัน และท้าทายการทำงานของสมาคมฯ ไม่น้อย แต่ด้วยหัวใจทีมงานที่เป็นจิตอาสา ที่ไม่ได้อยู่ในฐานะเพียงแค่ผู้บรรยายให้ความรู้ แต่สามารถให้คำปรึกษา ตลอดจนส่งต่อการรักษา จนหลายๆ คนมีชีวิตที่ดีขึ้น และตลอดกระบวนการทุกอย่างล้วนเป็นความลับ “จริงๆ แล้ว เวลาออกตรวจเคลื่อนที่ เด็กๆ ให้ความสนใจเข้ามาตรวจเยอะมาก แต่กลุ่มเสี่ยงจริงๆ จะไม่ค่อยมาตรวจ เพราะหนึ่ง เขากลัวเจอโรค และสอง ถ้าเดินมาเจอเพื่อนก็กลัวเพื่อนถาม กลุ่มเสี่ยงจริงๆ จึงมักจะไม่เปิดเผยตัวตน เราก็จะทิ้งเบอร์โทรหรือไลน์เอาไว้ ใครมีปัญหาหรือไม่สะดวกตอนนี้ ก็สามารถมาปรึกษาทีหลังได้ น้องหลายๆ คนก็เลือกที่จะเข้ามาปรึกษาหลังจากเลิกคลาสไปแล้ว ซึ่งเมื่อเราให้คำปรึกษาเบื้องต้น ก็สามารถประเมินได้ว่าใครความเสี่ยง จากนั้นเราก็จะบอกให้เขาตระหนักว่า เอชไอวีมันไม่ได้น่ากลัว สามารถรับยาต้านได้ แต่หากไม่รับการรักษา ปลายทางจะน่ากลัวกว่า “มีหลายเคสที่เราช่วยส่งต่อ เพื่ออำนวยความสะดวกให้กับกลุ่มเป้าหมาย เราก็จะโทรนัดพยาบาลว่าจะมีน้องไปตรวจนะ เพราะบางทีถ้าเราไม่ได้ประสานไป น้องๆ ก็จะเข้าไปแบบผู้ป่วยนอก ก็อาจจะเจอการตีตราจากคนนอกได้ ในรายที่ส่งไป แล้วพบว่ามีเชื้อเอชไอวี เราก็จะประสานไปยังหน่วยบริการสาธารณสุขต่อไป หลายสายโทรมาขอบคุณเรา หรือบางทีน้องเรียนจบไป ทำงานแล้ว ก็มีเคสส่งมาให้ด้วย เหมือนเขาสะดวกใจที่จะคุยกับเรา เพราะเราคุยกันแบบเปิดใจกันและสามารถเก็บความลับของเขาได้”   วัยหัวเลี้ยวหัวต่อและความท้าทาย วัยรุ่นเป็นวัยหัวเลี้ยวหัวต่อ ทั้งในเรื่องการคิด การใช้ชีวิต การเรียน และความรัก ซึ่งหลายๆ คนยังขาดความรู้เท่าทันเรื่องเพศสัมพันธ์ หรือโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ คุณก้องกล่าวว่า ความรู้ที่เด็กๆ มี ยังไม่แน่นพอ เพราะฉะนั้นสมาคมฯ จึงได้มาลุยงานในสถาบันการศึกษา เพราะการติดเชื้อเอชไอวีในกลุ่มวัยรุ่นนั้นยังมีค่อนข้างสูง “นอกเหนือจากการส่งเสริมอนามัยการเจริญพันธ์ที่ดีแล้ว ในเรื่องของการป้องกันการมีเพศสัมพันธ์ก่อนวัยอันควร และโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ ก็เป็นสิ่งที่น้องๆ ควรจะได้รู้ เพราะในสถานศึกษาไม่ได้มีสอนวิชานี้เป็นวิชาหลัก ภารกิจของสมาคมฯ ก็จะพยายามไปหนุนเสริมในรายละเอียดตรงนี้ให้ชัดเจนมากยิ่งขึ้น เพราะวัยนี้เป็นวัยที่อยากรู้อยากเห็นอยากลอง ในการอยากลองอยากรู้ของเขาบางทีเขาก็ลืมเรื่องการป้องกัน เหมือนเราเติมส่วนความรู้ให้มันเต็ม ให้ถูกต้อง รู้จักเอาตัวรอดได้ และรู้จักป้องกันได้” การให้ความรู้และจัดกิจกรรมของสมาคมฯ แก่วัยรุ่น จึงไม่ใช่การสอนแบบตรงเป็นไม้บรรทัด แล้วบังคับห้ามปราม...

AHF Thailand Effect The Series: เสียงเล็กๆ จากชายแดน…PPAT แม่สอด
Post

AHF Thailand Effect The Series: เสียงเล็กๆ จากชายแดน…PPAT แม่สอด

ในขณะที่เราใช้ชีวิตในสังคมใหญ่ มีระบบสุขภาพที่มีมาตรฐาน หากติดเชื้อเอชไอวี เราก็สามารถเข้าถึงบุคลากรทางการแพทย์ได้ไม่ยาก และยังรักษาได้ฟรี แต่ในบริเวณพื้นที่ชายขอบของไทยนั้น กลับไม่มีโอกาสแม้แต่การรักษาพยาบาลขั้นพื้นฐาน

AHF Thailand Effect The Series: เสียงสะท้อนจากภาคี กลุ่มสายรุ้งราชบุรี
Post

AHF Thailand Effect The Series: เสียงสะท้อนจากภาคี กลุ่มสายรุ้งราชบุรี

AHF Thailand Effect the series เรื่องแรกนั้น เราจึงอยากพาไปรู้จักกับภาคีของเรา ซึ่งองค์กรนี้อยู่ในจังหวัดราชบุรี ทำงานเพื่อกลุ่มคนที่มีความหลากหลายทางเพศมาอย่างยาวนาน จนเป็นหนึ่งในองค์กรสำคัญที่ช่วยขับเคลื่อนสังคมชาวราชบุรี

สวมโลกใบใหม่ให้ Condom ผ่าน 2 กิจกรรมสุดเจ๋งจาก AHF Thailand
Post

สวมโลกใบใหม่ให้ Condom ผ่าน 2 กิจกรรมสุดเจ๋งจาก AHF Thailand

เมื่อเอ่ยถึงคำว่า “ถุงยาง” ภาพที่เกิดขึ้นในหัวของคนส่วนใหญ่อาจไม่ใช่แค่อุปกรณ์ป้องกันโรคและการตั้งครรภ์ แต่คือทัศนคติบางอย่างรายล้อมครอบถุงยางที่เรารู้จัก

International Condom Day: LET’S LOVE มาเลิฟกันเถอะ
Post

International Condom Day: LET’S LOVE มาเลิฟกันเถอะ

มูลนิธิเอดส์ เฮลท์ แคร์ (AHF) ประเทศไทย ได้จัดงานวันถุงยางอนามัยสากลขึ้นในวันที่ 14 กุมภาพันธ์ 2563 ขึ้นที่หอศิลปวัฒนธรรมแห่งกรุงเทพมหานคร เพื่อสร้างความตระหนักถึงความสำคัญของถุงยางอนามัยและการมีเพศสัมพันธ์ที่ปลอดภัย กิจกรรมในปีนี้จัดขึ้นภายใต้ธีมที่ชื่อว่า “ALWAYS IN FASHION: LET’S LOVE มาเลิฟกันเถอะ” ซึ่งคุณกฤษสยาม อารยะวงค์ไชย ผู้จัดการประจำประเทศไทย มูลนิธิเอดส์ เฮลท์ แคร์ กล่าวว่า “แม้ปัจจุบันจะมีนวัตกรรมในการป้องกันเอชไอวีและโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์มากมาย แต่ก็ยังนับว่าถุงยางอนามัยเป็นอุปกรณ์ป้องกันที่เป็น primary prevention หรือการป้องกันขั้นพื้นฐานที่สำคัญที่สุด เพราะเข้าถึงได้ง่าย ราคาย่อมเยา และมีประสิทธิภาพในการป้องกันที่ดีที่สุด ซึ่งป้องกันได้ทั้งเอชไอวี โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ และการตั้งครรภ์ไม่พร้อม” สำหรับกิจกรรมในปีนี้ มูลนิธิฯ อยากเชิญชวนทุกคนมาเปิดใจและเปิดมุมมองใหม่ๆ ต่อถุงยางอนามัย ผ่านทางการดีไซน์ในรูปแบบใหม่ เพื่อสร้างภาพลักษณ์ที่ดีต่อถุงยางอนามัย ว่าไม่ได้เป็นเพียงเครื่องมือป้องกันโรคเท่านั้น แต่เป็นเครื่องหมายแห่งความรัก สอดคล้องกับความพยายามของมูลนิธิฯ ที่ได้ผลิตถุงยางอนามัย Love condom สำหรับแจกฟรีขึ้น เพื่อสะท้อนให้เห็นว่าการส่งเสริม เปิดใจ และเปิดโอกาสให้ทุกคนเข้าถึงการป้องกัน คือการส่งมอบความรักให้กันและกันอย่างแท้จริง มูลนิธิฯ ได้รับเกียรติจากดาราขวัญใจวัยรุ่น คุณฟลุ๊ค ณทัช ศิริพงษ์ธร นักแสดงจากซีรีส์ด้ายแดง Until we meet again the series และศิลปินมีชื่อมากมาย อาทิ คุณหมี จิรณรงค์ วงษ์สุนทร คุณน้ำ รัตนิน สุพฤฒิพานิชย์คุณแก๊ป ธนเวทย์ วิริวัฒน์ธนกุล คุณชาติ สุทธิชาติ ศราภัยวานิช และเดอะดวง วีระชัย ดวงพลา ที่ช่วยกันสะท้อนมุมมองใหม่ต่อถุงยางอนามัยผ่านงานดีไซน์ที่แตกต่างออกไปจากภาพลักษณ์ของถุงยางอนามัยแบบเดิมๆ โดยดีไซน์ถุงยางอนามัยมุมมองใหม่ของศิลปินทุกท่าน จะจัดแสดงที่บริเวณชั้น 5 หอศิลปะวัฒนธรรมแห่งกรุงเทพมหานครตั้งแต่วันที่ 14-23 กุมภาพันธ์ นี้ ภายในงานวันนี้ยังมีกิจกรรมเวทีเสวนาพิเศษ โดยได้รับเกียรติจาก คุณสุทธิชาติ ศราภัยวานิช คุณฟลุ้ค ณทัช ศิริพงษ์ธร และคุณโกศล ชื่นชมสกุลชัย จากโครงการ Impulse Bangkok มาร่วมเปิดมุมมองใหม่ๆ ที่มีต่อถุงยางอนามัย โดยคุณสุทธิชาติ ซึ่งเป็นทั้งนักออกแบบและอาจารย์จากคณะดิจิทัลอาร์ต มหาวิทยาลัยรังสิต ได้สะท้อนถึงความสำคัญของการดีไซน์ว่าสามารถช่วยเพิ่มความสนใจต่อผลิตภัณฑ์ และลดความรู้สึกที่ผู้บริโภคอาจมีต่อถุงยางอนามัยว่าไม่ได้เป็นเพียงเครื่องมือทางการแพทย์เท่านั้น ซึ่งจะช่วยส่งเสริมการใช้ถุงยางอนามัยให้มากขึ้นได้ คุณโกศลสะท้อนว่าเครื่องมือในการป้องกันต่างๆ ที่มีอยู่นั้น ไม่ว่าจะเป็น PrEP หรือ PEP เป็นต้น แม้จะมีประโยชน์แต่ก็ล้วนมีข้อจำกัดที่แตกต่างกัน ดังนั้น การป้องกันที่ดีที่สุดจึงเป็นการป้องกันที่ควบคู่ไปกับการใช้ถุงยางอนามัย สุดท้าย คุณฟลุ้ค ณทัช ในฐานะของตัวแทนวัยรุ่น ได้ฝากข้อคิดเอาไว้ว่าวัยรุ่นไม่ควรอายที่จะใช้ถุงยางอนามัย อีกทั้งรูปแบบที่น่าสนใจของถุงยางอนามัยจะช่วยให้น่าใช้มากยิ่งขึ้น เข้าถึงได้มากยิ่งขึ้น และที่สำคัญยุคนี้เป็นยุคใหม่แล้ว ดังนั้น เราทุกคนก็ควรเปิดใจกับถุงยางอนามัยด้วยเช่นกัน ดูรูปภาพเพิ่มเติมได้ที่ https://web.facebook.com/pg/AIDSHealthcareThailand/photos/?tab=album&album_id=2541813746089676